ด้านเทคโนโลยีอย่างอินเตอร์เน็ต ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นในการติดต่อ ทำให้ E-Business แพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้เร็วขึ้นด้วนต้นทุนที่ลดลง ในประเทศญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญกับการใช้ ERP เป็นพื้นฐานของระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์กรสำหรับรองรับการบริหารจัดการที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเรียลไทม์ แต่อัตราส่วนการใช้ ERP ยังค่อนข้างต่ำ เมื่อ E-Business ก้าวหน้ามากขึ้น ระบสารสนเทศขององค์กรและระบบ ERP จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เป็นสิ่งต้องจับตามองและพิจารณาอย่างเร่งด่วน
แนวโน้มของ E-Business
• แนวคิดของ E-Business - ERP Research Promotion Forum ได้ให้คำจำกัดความของ ERP และ E-Business ไว้ดังนี้
- ERP เป็นวิธีบริหารจัดการห่วงโซ่ของมูลค่าภายในองค์กรให้มีประสิทธิผลสูงที่สุด
- ระบบ ERP เป็นวิธีการทาง IT ในการทำให้แนวคิดเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
- ระบบ E-Bininess คือ กลยุทธ์ทางธุรกิจ ใช้อินเตอร์เน็ตในการเชื่อมโยงองค์กร ยกประสิทธิผลการบริหารธุรกิจทุกๆ ขั้นตอนให้สูงขึ้น โดยเปรียบเทียบให้ ERP เป็นกลไกการปฏิรูปห่วงโซ่มูลค่าภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วน E-Business เป็นกลยุทธ์สำหรับการปฏิรูปห่วงโซ่ของมูลค่าทั้งหมดข้ามองค์กร ตั้งแต่คู่ค้าไปถึงลูกค้า
จากด้านล่างนี้ จะเห็นภาพของ E-Business ตามคำจำกัดข้างต้น สำหรับระบบสารสนเทศนั้นจำเป็นต้องใช้ระบบที่สามารถทำการประมวลผลแบบเรียลไทม์ มีการเชื่อมต่อกับทุกองค์กรในห่วงโซ่ของมูลค่า (ผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ขายปลีก)
