รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP - ระบบ ERP OpenSource
โพสต์แล้ว: เสาร์ 08 ธ.ค. 2012 4:17 pm
ประเภทของโมดูลหลักๆ ภายในระบบ ERP แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักๆ ดังนี้
1.โมดูลการจัดจำหน่าย (Distribution Module) รวบรวมระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ระบบการบริหารการขาย (Sales Management) ระบบวิเคราะห์ยอดขาย (Sale Analysis) ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM-Customer Relationship Management) ระบบการคาดคะเนยอดขาย (Forecasting) ระบบการบริหารการสั่งซื้อ (Purchasing) รวมถึงการบริหารคลังสินค้าและวัตถุดิบ
- ระบบบริหารการขาย (Sale Management) ตั้งแต่จัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Master Database) การป้อนข้อมูลการสั่งซื้อ (Sales Order Data Entry) เก็บเกี่ยวข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของใบสั่งซื้อนั้นๆ เพื่อตรวจสอบ รวมถึงการป้อนใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ รายงานสถานภาพใบสั่งซื้อ ราคา ใบกำกับสินค้า ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้สืบค้น รายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า การเสนอราคา การลดราคา การออกใบกำกับสินค้า การบริการสอบถามข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- ระบบวิเคราะห์ยอดขาย (Sales Analysis) รวมข้อมูลการขายผลิตภัณฑ์จากใบกำกับสินค้าทุกฉบับ จัดข้อมูลในรูปแบบมิติและมุมมอง สามารถเรียกดูข้อมูลเป็นรายเดือน รายปี หรือช่วงใดๆ ตามต้องการ วิเคราะห์ยอดขายตามลูกค้า ตามผู้ขาย ตามภูมิศาสตร์ จังหวัด ประเทศ ทวีป ยอดขายตามผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดอันดับต่างๆ
- การยืนยันวันส่งสินค้า (ATP - Available To Promise) ยืนยันวันส่งสินค้า ใช้ในกรณีที่ลูกค้าสอบถามถึงวันที่ที่เร็วที่สุดที่สามารถส่งสินค้าตามที่ลูกค้าสั่งให้ได้ ระบบนี้จะรับข้อมูลสินค้าและจำนวนที่ลูกค้าต้องการ ทำการตรวจสอบข้อมูลจากระบบอื่น เช่น ข้อมูลสินค้า/วัตถุดิบคงคลัง ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการผลิต ความสามารถในการส่งวัตถุดิบจากผู้ขายโดยคำนวณสินค้าที่มีสามารถผลิตและส่งให้ได้ในวันที่ ในกรณีที่วัตถุดิบมีไม่เพียงพอ จะสามารถสั่งได้เมื่อไร
- ราคาสินค้าและส่วนลดของผลิตภัณฑ์ (Priceing and Discouting) กำหนดราคาและส่วนลดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ประมวลผลใบสั่งซื้อของลูกค้า สถานภาพเพื่อรายงานการย้อนตรวจสอบ กำหนดราคาในแต่ละใบสั่งขายถึงใบกำกับสินค้า รวมถึงการเสนอราคาและการลดราคาในแต่ละสินค้าของลูกค้าแต่ละราย
- ระบบสนับสนุนการคาดคะเน (Forecasting) สร้างและรับข้อมูลความต้องการสั่งซื้อในอนาคต เพื่อคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ทั้งด้านการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หรือใบสั่งผลิตสินค้าล่วงหน้า หรือการส่งวัตถุดิบล่วงหน้า แม้ความสามารถในการขยายกำลังการผลิตและบริการในอนาคต ด้านเครื่องจักร กำลังคน เครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ระบบสนับสนุนการคาดคะเนสามารถจำลองความต้องการขายขององค์กรจากประวัติการขาย หรือการคำนวณด้วยอัตราต่างๆ
- ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และอีคอมเมิร์ช (CRM-Customer Relationship Management and E-Commerce) การพัฒนามาจากระบบบริหารการติดต่อลูกค้า ได้ปรับปรุงขึ้นรวมกับระบบที่เกี่ยวข้องกับการขายและการบริหารต่างๆ เช่น ระบบการขาย ระบบการตลาด และเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารและลูกค้าเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ทางด้านการตลาด เช่น รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การแจ้งราคา การจัดการนำเสนอ สารานุกรมทางการตลาด อาจเพิ่มเติมบางงานที่ช่วยสนับสนุนงานด้านนี้เข้าด้วย เช่น การตั้งราคาที่ซับซ้อน การจัดการส่งเสริมการขาย การวางแผนค่านายหน้า การบริหารทีมขาย การจัดการรณรงค์และการโฆษณา องค์กรขนาดใหญ่ที่เน้นด้านการขายและการตลาดอาจรวมระบบศูนย์กลางการเรียกเข้าทางโทรศัพท์ การให้ความช่วยเหลือลูกค้า การบริการส่วนพื้นที่ การทำนาย การวิเคราะห์
- ระบบบริหารการจัดซื้อ (Purchasing Management) รวบรวมกลุ่มของระบบงานที่ทำการสนับสนุนการควบคุมการสั่งซื้อทุกประเภท การรับของและการชำระเงิน ข้อมูลผู้ขาย การวิเคราะห์ตรวจสอบต่างๆ จะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. ข้อมูลผู้ขาย (Vendor / Supplier Profile)
2. การจัดเก็บใบเสนอราคา (Requisition and Quotation)
3. การออกใบสั่งซื้อและการจัดการใบสั่งซื้อ (Purchase Orders and Purchase Orders Management )
4. การควบคุมราคาและส่วนลด (Price and Discounts)
5. การควบคุมสัญญาและข้อตกลงกับผู้ขาย (Vendors Contracts and Agreement)
6. รายการทางด้านการจัดซื้อ (Online Procurement Reporting)
7. การรับของ (Procurement Receipts)
8. การประเมินผลผู้ขาย (Vendor Evaluation)
9. การสนับสนุนการเชื่อมต่อข้อมูลจากภายนอก (Data Interface)
- ระบบการบริหารสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ (Inventory Management) รวมกลุ่มของระบบงานที่ทำการสนับสนุนการควบคุมสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบที่สำคัญเหล่านี้
1.สร้างรายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้า วัตถุดิบ การรับ การจ่าย และการโอนย้าย
2.ข้อห้ามต่างๆ ในการทำการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ
3.ตรวจสอบ ติดตาม รายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ และประวัติ
4.กำหนดโรงงาน คลังเก็บ โรงเก็บสินค้า/วัตถุดิบ ที่หลากหลาย
5.ควบคุม ติดตาม ที่ตั้งและกลุ่มของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์
6.จองและจัดสรรวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
7.ตรวจนับของในคลังตามวาระ เพื่อตรวจสอบยอดคงคลังในมือ
8.ปรับยอดในคลัง
9.ใช้หน่วยวัดได้หลากหลาย
10.วิเคราะห์แบบเอบีซี เพื่อแบ่งกลุ่มความสำคัญของผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ
11.รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบคลังสินค้าและวัตถุดิบ
1.โมดูลการจัดจำหน่าย (Distribution Module) รวบรวมระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ระบบการบริหารการขาย (Sales Management) ระบบวิเคราะห์ยอดขาย (Sale Analysis) ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM-Customer Relationship Management) ระบบการคาดคะเนยอดขาย (Forecasting) ระบบการบริหารการสั่งซื้อ (Purchasing) รวมถึงการบริหารคลังสินค้าและวัตถุดิบ
- ระบบบริหารการขาย (Sale Management) ตั้งแต่จัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Master Database) การป้อนข้อมูลการสั่งซื้อ (Sales Order Data Entry) เก็บเกี่ยวข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของใบสั่งซื้อนั้นๆ เพื่อตรวจสอบ รวมถึงการป้อนใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ รายงานสถานภาพใบสั่งซื้อ ราคา ใบกำกับสินค้า ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้สืบค้น รายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า การเสนอราคา การลดราคา การออกใบกำกับสินค้า การบริการสอบถามข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- ระบบวิเคราะห์ยอดขาย (Sales Analysis) รวมข้อมูลการขายผลิตภัณฑ์จากใบกำกับสินค้าทุกฉบับ จัดข้อมูลในรูปแบบมิติและมุมมอง สามารถเรียกดูข้อมูลเป็นรายเดือน รายปี หรือช่วงใดๆ ตามต้องการ วิเคราะห์ยอดขายตามลูกค้า ตามผู้ขาย ตามภูมิศาสตร์ จังหวัด ประเทศ ทวีป ยอดขายตามผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดอันดับต่างๆ
- การยืนยันวันส่งสินค้า (ATP - Available To Promise) ยืนยันวันส่งสินค้า ใช้ในกรณีที่ลูกค้าสอบถามถึงวันที่ที่เร็วที่สุดที่สามารถส่งสินค้าตามที่ลูกค้าสั่งให้ได้ ระบบนี้จะรับข้อมูลสินค้าและจำนวนที่ลูกค้าต้องการ ทำการตรวจสอบข้อมูลจากระบบอื่น เช่น ข้อมูลสินค้า/วัตถุดิบคงคลัง ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการผลิต ความสามารถในการส่งวัตถุดิบจากผู้ขายโดยคำนวณสินค้าที่มีสามารถผลิตและส่งให้ได้ในวันที่ ในกรณีที่วัตถุดิบมีไม่เพียงพอ จะสามารถสั่งได้เมื่อไร
- ราคาสินค้าและส่วนลดของผลิตภัณฑ์ (Priceing and Discouting) กำหนดราคาและส่วนลดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ประมวลผลใบสั่งซื้อของลูกค้า สถานภาพเพื่อรายงานการย้อนตรวจสอบ กำหนดราคาในแต่ละใบสั่งขายถึงใบกำกับสินค้า รวมถึงการเสนอราคาและการลดราคาในแต่ละสินค้าของลูกค้าแต่ละราย
- ระบบสนับสนุนการคาดคะเน (Forecasting) สร้างและรับข้อมูลความต้องการสั่งซื้อในอนาคต เพื่อคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ทั้งด้านการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หรือใบสั่งผลิตสินค้าล่วงหน้า หรือการส่งวัตถุดิบล่วงหน้า แม้ความสามารถในการขยายกำลังการผลิตและบริการในอนาคต ด้านเครื่องจักร กำลังคน เครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ระบบสนับสนุนการคาดคะเนสามารถจำลองความต้องการขายขององค์กรจากประวัติการขาย หรือการคำนวณด้วยอัตราต่างๆ
- ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และอีคอมเมิร์ช (CRM-Customer Relationship Management and E-Commerce) การพัฒนามาจากระบบบริหารการติดต่อลูกค้า ได้ปรับปรุงขึ้นรวมกับระบบที่เกี่ยวข้องกับการขายและการบริหารต่างๆ เช่น ระบบการขาย ระบบการตลาด และเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารและลูกค้าเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ทางด้านการตลาด เช่น รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การแจ้งราคา การจัดการนำเสนอ สารานุกรมทางการตลาด อาจเพิ่มเติมบางงานที่ช่วยสนับสนุนงานด้านนี้เข้าด้วย เช่น การตั้งราคาที่ซับซ้อน การจัดการส่งเสริมการขาย การวางแผนค่านายหน้า การบริหารทีมขาย การจัดการรณรงค์และการโฆษณา องค์กรขนาดใหญ่ที่เน้นด้านการขายและการตลาดอาจรวมระบบศูนย์กลางการเรียกเข้าทางโทรศัพท์ การให้ความช่วยเหลือลูกค้า การบริการส่วนพื้นที่ การทำนาย การวิเคราะห์
- ระบบบริหารการจัดซื้อ (Purchasing Management) รวบรวมกลุ่มของระบบงานที่ทำการสนับสนุนการควบคุมการสั่งซื้อทุกประเภท การรับของและการชำระเงิน ข้อมูลผู้ขาย การวิเคราะห์ตรวจสอบต่างๆ จะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. ข้อมูลผู้ขาย (Vendor / Supplier Profile)
2. การจัดเก็บใบเสนอราคา (Requisition and Quotation)
3. การออกใบสั่งซื้อและการจัดการใบสั่งซื้อ (Purchase Orders and Purchase Orders Management )
4. การควบคุมราคาและส่วนลด (Price and Discounts)
5. การควบคุมสัญญาและข้อตกลงกับผู้ขาย (Vendors Contracts and Agreement)
6. รายการทางด้านการจัดซื้อ (Online Procurement Reporting)
7. การรับของ (Procurement Receipts)
8. การประเมินผลผู้ขาย (Vendor Evaluation)
9. การสนับสนุนการเชื่อมต่อข้อมูลจากภายนอก (Data Interface)
- ระบบการบริหารสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ (Inventory Management) รวมกลุ่มของระบบงานที่ทำการสนับสนุนการควบคุมสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบที่สำคัญเหล่านี้
1.สร้างรายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้า วัตถุดิบ การรับ การจ่าย และการโอนย้าย
2.ข้อห้ามต่างๆ ในการทำการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ
3.ตรวจสอบ ติดตาม รายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ และประวัติ
4.กำหนดโรงงาน คลังเก็บ โรงเก็บสินค้า/วัตถุดิบ ที่หลากหลาย
5.ควบคุม ติดตาม ที่ตั้งและกลุ่มของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์
6.จองและจัดสรรวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
7.ตรวจนับของในคลังตามวาระ เพื่อตรวจสอบยอดคงคลังในมือ
8.ปรับยอดในคลัง
9.ใช้หน่วยวัดได้หลากหลาย
10.วิเคราะห์แบบเอบีซี เพื่อแบ่งกลุ่มความสำคัญของผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ
11.รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบคลังสินค้าและวัตถุดิบ