รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP - ระบบ ERP OpenSource

ERP - OpenERP Overview ทำความรู้จัก ระบบ ERP ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับโครงสร้างของ OpenERP สถาปัตยกรรม ระบบ ERP ทำความรู้จัก บทความความรู้เรื่อง ระบบ ERP ที่ใช้งานได้ฟรี
openerp_docman
โพสต์: 393
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 06 ต.ค. 2012 10:11 am

รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP - ระบบ ERP OpenSource

โพสต์โดย openerp_docman » เสาร์ 08 ธ.ค. 2012 4:17 pm

ประเภทของโมดูลหลักๆ ภายในระบบ ERP แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักๆ ดังนี้

1.โมดูลการจัดจำหน่าย (Distribution Module) รวบรวมระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ระบบการบริหารการขาย (Sales Management) ระบบวิเคราะห์ยอดขาย (Sale Analysis) ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM-Customer Relationship Management) ระบบการคาดคะเนยอดขาย (Forecasting) ระบบการบริหารการสั่งซื้อ (Purchasing) รวมถึงการบริหารคลังสินค้าและวัตถุดิบ

- ระบบบริหารการขาย (Sale Management) ตั้งแต่จัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Master Database) การป้อนข้อมูลการสั่งซื้อ (Sales Order Data Entry) เก็บเกี่ยวข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของใบสั่งซื้อนั้นๆ เพื่อตรวจสอบ รวมถึงการป้อนใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ รายงานสถานภาพใบสั่งซื้อ ราคา ใบกำกับสินค้า ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้สืบค้น รายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า การเสนอราคา การลดราคา การออกใบกำกับสินค้า การบริการสอบถามข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

- ระบบวิเคราะห์ยอดขาย (Sales Analysis) รวมข้อมูลการขายผลิตภัณฑ์จากใบกำกับสินค้าทุกฉบับ จัดข้อมูลในรูปแบบมิติและมุมมอง สามารถเรียกดูข้อมูลเป็นรายเดือน รายปี หรือช่วงใดๆ ตามต้องการ วิเคราะห์ยอดขายตามลูกค้า ตามผู้ขาย ตามภูมิศาสตร์ จังหวัด ประเทศ ทวีป ยอดขายตามผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดอันดับต่างๆ

- การยืนยันวันส่งสินค้า (ATP - Available To Promise) ยืนยันวันส่งสินค้า ใช้ในกรณีที่ลูกค้าสอบถามถึงวันที่ที่เร็วที่สุดที่สามารถส่งสินค้าตามที่ลูกค้าสั่งให้ได้ ระบบนี้จะรับข้อมูลสินค้าและจำนวนที่ลูกค้าต้องการ ทำการตรวจสอบข้อมูลจากระบบอื่น เช่น ข้อมูลสินค้า/วัตถุดิบคงคลัง ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการผลิต ความสามารถในการส่งวัตถุดิบจากผู้ขายโดยคำนวณสินค้าที่มีสามารถผลิตและส่งให้ได้ในวันที่ ในกรณีที่วัตถุดิบมีไม่เพียงพอ จะสามารถสั่งได้เมื่อไร

- ราคาสินค้าและส่วนลดของผลิตภัณฑ์ (Priceing and Discouting) กำหนดราคาและส่วนลดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ประมวลผลใบสั่งซื้อของลูกค้า สถานภาพเพื่อรายงานการย้อนตรวจสอบ กำหนดราคาในแต่ละใบสั่งขายถึงใบกำกับสินค้า รวมถึงการเสนอราคาและการลดราคาในแต่ละสินค้าของลูกค้าแต่ละราย

- ระบบสนับสนุนการคาดคะเน (Forecasting) สร้างและรับข้อมูลความต้องการสั่งซื้อในอนาคต เพื่อคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ทั้งด้านการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หรือใบสั่งผลิตสินค้าล่วงหน้า หรือการส่งวัตถุดิบล่วงหน้า แม้ความสามารถในการขยายกำลังการผลิตและบริการในอนาคต ด้านเครื่องจักร กำลังคน เครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ระบบสนับสนุนการคาดคะเนสามารถจำลองความต้องการขายขององค์กรจากประวัติการขาย หรือการคำนวณด้วยอัตราต่างๆ

- ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และอีคอมเมิร์ช (CRM-Customer Relationship Management and E-Commerce) การพัฒนามาจากระบบบริหารการติดต่อลูกค้า ได้ปรับปรุงขึ้นรวมกับระบบที่เกี่ยวข้องกับการขายและการบริหารต่างๆ เช่น ระบบการขาย ระบบการตลาด และเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารและลูกค้าเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ทางด้านการตลาด เช่น รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การแจ้งราคา การจัดการนำเสนอ สารานุกรมทางการตลาด อาจเพิ่มเติมบางงานที่ช่วยสนับสนุนงานด้านนี้เข้าด้วย เช่น การตั้งราคาที่ซับซ้อน การจัดการส่งเสริมการขาย การวางแผนค่านายหน้า การบริหารทีมขาย การจัดการรณรงค์และการโฆษณา องค์กรขนาดใหญ่ที่เน้นด้านการขายและการตลาดอาจรวมระบบศูนย์กลางการเรียกเข้าทางโทรศัพท์ การให้ความช่วยเหลือลูกค้า การบริการส่วนพื้นที่ การทำนาย การวิเคราะห์

- ระบบบริหารการจัดซื้อ (Purchasing Management) รวบรวมกลุ่มของระบบงานที่ทำการสนับสนุนการควบคุมการสั่งซื้อทุกประเภท การรับของและการชำระเงิน ข้อมูลผู้ขาย การวิเคราะห์ตรวจสอบต่างๆ จะสนับสนุนขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. ข้อมูลผู้ขาย (Vendor / Supplier Profile)
2. การจัดเก็บใบเสนอราคา (Requisition and Quotation)
3. การออกใบสั่งซื้อและการจัดการใบสั่งซื้อ (Purchase Orders and Purchase Orders Management )
4. การควบคุมราคาและส่วนลด (Price and Discounts)
5. การควบคุมสัญญาและข้อตกลงกับผู้ขาย (Vendors Contracts and Agreement)
6. รายการทางด้านการจัดซื้อ (Online Procurement Reporting)
7. การรับของ (Procurement Receipts)
8. การประเมินผลผู้ขาย (Vendor Evaluation)
9. การสนับสนุนการเชื่อมต่อข้อมูลจากภายนอก (Data Interface)

- ระบบการบริหารสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ (Inventory Management) รวมกลุ่มของระบบงานที่ทำการสนับสนุนการควบคุมสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบที่สำคัญเหล่านี้
1.สร้างรายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้า วัตถุดิบ การรับ การจ่าย และการโอนย้าย
2.ข้อห้ามต่างๆ ในการทำการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ
3.ตรวจสอบ ติดตาม รายการเปลี่ยนแปลงของคลังสินค้าและวัตถุดิบ และประวัติ
4.กำหนดโรงงาน คลังเก็บ โรงเก็บสินค้า/วัตถุดิบ ที่หลากหลาย
5.ควบคุม ติดตาม ที่ตั้งและกลุ่มของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์
6.จองและจัดสรรวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
7.ตรวจนับของในคลังตามวาระ เพื่อตรวจสอบยอดคงคลังในมือ
8.ปรับยอดในคลัง
9.ใช้หน่วยวัดได้หลากหลาย
10.วิเคราะห์แบบเอบีซี เพื่อแบ่งกลุ่มความสำคัญของผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ
11.รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบคลังสินค้าและวัตถุดิบ

openerp_docman
โพสต์: 393
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 06 ต.ค. 2012 10:11 am

Re: รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP

โพสต์โดย openerp_docman » เสาร์ 08 ธ.ค. 2012 4:50 pm

2.โมดูลด้านการผลิต (Manufacturing Module) - รวมขั้นตอนการทำงานของระบบการบริหารการผลิต ครอบคลุมระบบงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผนการผลิต การจัดการใบสั่งผลิต การส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า การคิดต้นทุนการผลิต

- ระบบจัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์ (PDM-Product Data Management) จัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์รวมถึงรายการวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต และระบบที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม โดยรวมมุมมองที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ ให้วิศวกรนำไปใช้

- โครงสร้างของผลิตภัณฑ์หรือรายการวัตถุดิบ (Product Structure / BOM - Bill Of Meterial) รวมรายการของวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไว้ ระบุความสัมพันธ์เป็นระดับชั้น รวมทั้งส่วนประกอบและจำนวนที่ต้องการใช้ รายละเอียดต่างๆ

- ขั้นตอนการผลิต (Routing) ประกอบด้วยอย่างน้อยหนึ่งขั้นตอน เรียงตามลำดับจากขั้นตอนแรกไปถึงขั้นตอนสุดท้าย แต่ละขั้นตอนจะต้องระบุถึงเวลาที่ใช้ในการผลิต เวลาที่สูญเสีย จำนวนแรงงาน เครื่องจักรที่ใช้ในขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนที่ใช้ทดแทน วันที่มีผลบังคับใช้ในส่วนประกอบแต่ละขั้นตอน การประมาณผลผลิต การระบุขั้นตอนแบบให้ผู้รับเหมาช่วง การคำนวณหาระยะเวลาในผลิตผลิตภัณฑ์ ความสัมพันธ์กับระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม

- ระบบการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP - Material Requirement Planning) ระบบวางแผนความต้องการวัตถุดิบเป็นกุญแจสำคัญของการวางแผนโรงงาน ซึ่งจะใช้ตารางการผลิตหลักของโรงงานและแหล่งที่มาของอุปสงค์และอุปทาน เพื่อคำนวณหา
1.ความต้องการสุทธิและวัตถุดิบคงคลังในมือที่วางแผนไว้
2.ตารางและแผนการซื้อวัตถุดิบ
3.ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการวางแผนวัตถุดิบ
ในระบบ MRP จะคำนวณความสมดุลของอุปทานและอุปสงค์ของรายการที่ต้องซื้อและที่ผลิต จะบอกถึงจำนวณอุปสงค์หรือความต้องการ ระยะเวลาที่ต้องทำการสั่งซื้อเพิ่มเติม MRP จะมองที่ความต้องการผลิตภัณฑ์ของผู้ซื้อ ใช้โครงสร้างของผลิตภัณฑ์หาความต้องการของรายการส่วนประกอบ แต่ละรายการจะพิจารณาถึงรายละเอียดการสั่งซื้อ จำนวนวัตถุดิบคงคลังในมือ ระยะเวลาในการสั่งซื้อ โดยสร้างแผนการสั่งซื้อ/ผลิต และคำแนะนำต่างๆ ที่ได้จากการคำนวณ

- ระบบวางแผนความต้องการความสามารถทางการผลิต (CRP-Capacity Requirement Planning) ใช้แผนการสั่งผลิตจากระบบ MRP ในการวัดภาวะการผลิตแต่ละหน่วย คำนวณจากงานที่ต้องทำของแต่ลำแผนก จุดการทำงาน เครื่องจักร ทำการแจกแจงขั้นตอนการผลิต กระบวนการของแผนการสั่งผลิต แผนการสั่งผลิตที่ได้รับการยืนยันแล้ว กำหนดวันที่เริ่มผลิตและวันที่ผลิตเสร็จ

- ระบบการวางแผนการผลิต (Production Planning) จัดวางตารางการผลิตรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน สำหรับองค์กรที่มีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า ปฏิบัติตามกำลังการผลิตของโรงงานนั้นๆ รวมถึงการประมาณการณ์กำหนดลำดับการทำงานผลิตก่อน-หลัง การวางแผนวัตถุดิบ

- ระบบควบคุมการผลิต (Shop Floor Control) จะเตรียมและควบคุมการผลิต ติดตามสถานะใบสั่งผลิตในโรงงานที่ผลิต การส่งมอบใบสั่งผลิต วางแผนความสามารถในการผลิต การจัดสรรทรัพยากร การติดตามผลการผลิตและรายงานผลการผลิต ติดตามของเสียและการสิ้นเปลืองในการผลิต

- ระบบต้นทุนทางด้านการผลิต (Production Cost) วิเคราะห์ค้นหาต้นทุนที่เกิดจากการผลิต จนได้ต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์ ต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์จะต้องเกี่ยวพันถึงต้นทุนค่าแรงงาน ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนของโรงงานการผลิต ค่าใช้จ่ายประจำหรือค่าโสหุ้ย จัดเตรียมวิธีการจัดการต้นทุนที่หลากหลาย

- ระบบบริหารการผลิตแบบกลุ่มโครงการ (Project Managent) ตรวจสอบต้นทุนและตารางการผลิตของแต่ละโครงการ ส่วนใหญ่ต้องประกอบด้วยระบบการควบคุมโครงการ ระบบการวิเคราะห์โครงการ ระบบควบคุมงบประมาณ โครงการ การรักษาเวลา ให้การผลิตมีประสิทธิผลและได้กำไรสูงสุด

- ระบบการจัดการผลิตภัณฑ์ใกล้เคียง (Product/Item Configuration) ช่วยในการจัดรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ยึกแบบเดิมและเปลี่ยนบางส่วนตามความต้องการลูกค้า จำคำนวณต้นทุนให้ใหม่ บอกความต่างของผลิตภัณฑ์เก่าและใหม่ อ้างอิงถึงรายการวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต และของราคาผลิตภัณฑ์เดิมเทียบกับราคาผลิตภัณฑ์ใหม่ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มความแม่นยำ ลดการผิดพลาด

- ระบบจัดการคุณภาพ (Quality Management) รวมเทคนิคในการปฏิบัติงานต่างๆ ที่สนองความต้องการในการควบคุมคุณภาพ สร้างและบริหารการตรวจสอบคุณภาพ ควบคุมการสูญเสียที่เกิดจากการผลิต รวมระเบียบการตรวจสอบคุณภาพ

openerp_docman
โพสต์: 393
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 06 ต.ค. 2012 10:11 am

Re: รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP

โพสต์โดย openerp_docman » เสาร์ 08 ธ.ค. 2012 5:18 pm

3.โมดูลด้านบัญชีการเงิน (Account / Financial Module) รวมขั้นตอนการทำงานของระบบการทำบัญชีและบริหารการเงินไว้ด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจบัญชีการจ่ายเงินต่างๆ ถูกจ่ายแล้ว และบัญชีการรับเงินถูกต้องและตรงเวลา รวมถึงการบริหารองค์กรในด้านการบัญชีและการเงินในทุกๆ ส่วนด้วย

- ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) จัดเก็บแผนผังบัญชีไว้เป็นศูนย์กลาง และงบดุลทางด้านการเงินของทั้งองค์กร รองรับทุกส่วนของขั้นตอนการบัญชีของธุรกิจ ในโมดูลนี้รายการเปลี่ยนแปลงทางการเงินและบัญชีถูกโอนประมวลผล สรุป และรายงาน เก็บรักษาการตรวจสอบบัญชีที่สมบูรณ์ของรายการ ทำให้หน่วยงานแต่ละส่วนสามารถดูข้อมูลข่าวสารทางการเงินของหน่วยงานได้ ขณะที่องค์กรหลักสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานได้ทั้งหมด ดูข้อมูลข่าวสารรวมได้เช่นกัน

- ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Accounts Payable) กำหนดตารางการจ่ายตั๋วเงิน ที่ต้องให้ผู้จำหน่ายและผู้แทนจำหน่ายเก็บรายละเอียดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นหนี้ วันที่ครบกำหนดจ่าย และส่วนลดที่มีให้ จัดเตรียมการทำงานและเชื่อมระบบอื่นๆ เช่น การบริการลูกค้า การจัดซื้อ การควบคุมคลังสินค้าและวัตถุดิบ ควบคุมโรงงานผลิต

- ระบบสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ทำการบริหารค่าเสื่อมราคาและต้นทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่จับต้องได้

- ระบบการทำบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) วิเคราะห์ต้นทุนขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายประจำ ต้นทุนผลิตภัณฑ์ ต้นทุนการผลิตจากใบสั่งผลิตที่โรงงาน จัดเตรียมวิธีการจัดการจากต้นทุนที่หลากหลาย เช่น คำนวณต้นทุนแบบมาตรฐาน แบบต้นทุนเฉลี่ย แบบเข้าก่อนออกก่อน แบบเข้าทีหลังออกก่อน แบบเป้าหมาย และแบบคำนวณต้นทุนจากฐานกิจกรรม

- ระบบการบริหารเงินสด (Cash Management) การบันทึกค่าใช้จ่ายเงินสดหรือเงินฝาก การบันทึกการชำระเงินสดและการรับรายงานการวางแผนเงินสด การคำนวณความคาดหวังของเงินสดที่จะใช้และแหล่งที่มา เงินสดที่พร้อมใช้ ตรวจสอบและวิเคราะห์การถือครองเงินสด ทำความตกลงด้านการเงิน ความเสี่ยงในการลงทุน

- ระบบการบริหารงบประมาณ (Budgeting) ควบคุมงบประมาณหลักขององค์กร การทำบัญชีงบประมาณ การพัฒนางบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ ระบบควรจัดเตรียมเครื่องมือให้พอที่จะให้สามารถพัฒนารายละเอียดของงบประมาณ และการวิเคราะห์ ส่วนที่เพิ่มเติมจะสามารถเข้าไปรวมกันได้กับระบบการบริหารโครงการอย่างสมบูรณ์

- ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable) ทำการติดตามกำหนดการจ่ายเงินจากลูกค้าที่ต้องการจ่ายให้องค์กร บรรจุเครื่องมือที่ทำการควบคุม เร่งการรับเงินจากรายการที่บันทึกไว้ของใบสั่งขาย โอนไปเป็นการรับชำระหนี้

- รายงานการเงิน (Financial Reporting) วิเคราะห์ประสิทธิภาพขององค์กรได้แม่นยำโดยอาศัยข้อมูลจากรายงานเหล่านั้น จะอนุญาตให้องค์กรย่อยทราบรายละเอียดทางด้านการเงิน ส่วนองค์กรใหญ่ที่ถือหุ้นในองค์กรย่อยสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์กรสาขาทั้งหมดและดูข้อมูลข่าวสารรวม ระบบมีเครื่องมือให้ผู้ใช้สามารถสร้างรายการเพิ่มเองได้

- การทำบัญชีโครงการ (Project Accounting) ตรวจดูต้นทุนและตารางการทำงานของแต่ละโครงการในระดับพื้นฐาน จะถูกรวมโมดูลย่อยๆ ไว้เสมอ เช่น ระบบควบคุมโครงการ การวิเคราะห์โครงการ งบประมาณโครงการ การรักษาเวลาโครงการ บัญชีรายการสั่งซื้อของโครงการ การบริหารสัญญา

openerp_docman
โพสต์: 393
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 06 ต.ค. 2012 10:11 am

Re: รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP

โพสต์โดย openerp_docman » เสาร์ 08 ธ.ค. 2012 6:57 pm

4. โมดูลด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Module) โปรแกรมที่จำเป็นสำหรับงานบริหารบุคคล สำหรับผู้บริหารและพนักงาน โมดูลทรัพยากรบุคคลจะเป็นโมดูลที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จและความล้มเหลวของระบบ ERP น้อยที่สุด โดยเฉพาะในประเทศไทย

- ระบบการบริหารงานบุคคล (Personnel Management) รวมระบบงานต่างๆ ที่รองรับการทำงานด้านการบริหารงานบุคคลไว้ เช่น การคัดสรรบุคลากร ฐานข้อมูลส่วนบุคคล การสืบค้นข้อมูลส่วนบุคคลในอดีต โครงสร้างองค์กร การบริหารฝึกอบรม/การพัฒนาอาชีพ การจัดการการให้รางวัล การจัดการโครงสร้างตำแหน่งและค่าจ้าง การบริหารวันหยุด

- ระบบการบริหารเวลาการทำงาน (Attendance Management) เก็บข้อมูลเวลาการทำงานของพนักงาน เวลาเข้างานและเลิกงาน คำนวณชั่วโมงทำงาน คำนวณค่าเบื้ยเลี้ยง เงินหัก ระบบจะเชื่อมกับการบริหารงานบุคคล

- ระบบการบริหารเงินเดือน (Payroll Management) จัดการด้านการเงิน เตรียมการคำนวณ เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยงในแต่ละงวดการจ่ายค่าจ้าง รองรับการหักภาษี

- ระบบการประเมินผล (Evaluation) รวมประวัติการทำงานของพนักงาน การขาดงาน ลา สาย เตรียมการเก็บข้อมูลประมวลผล การประเมินผลจากหัวหน้างาน เพื่อคำนวณกับสูตรการขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส เงินปันผล

ที่มา : course.eau.ac.th

gm445566
โพสต์: 24
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 25 พ.ย. 2012 1:23 pm

Re: รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP

โพสต์โดย gm445566 » อังคาร 11 ธ.ค. 2012 10:08 am

Thank you so much

wichanl

Re: รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP

โพสต์โดย wichanl » จันทร์ 17 ก.พ. 2014 2:43 pm

OpenERP ใน version7 ปัจจุบันมี modules ต่างๆสามารถทำได้ตามรายการที่อธิบายข้างต้นได้หมดหรือเปล่าครับ


ภาพประจำตัวสมาชิก
TuaNote Sama
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 19 มี.ค. 2017 1:07 am

Re: รู้จักโมดูลต่างๆ ภายในระบบ ERP - ระบบ ERP OpenSource

โพสต์โดย TuaNote Sama » อาทิตย์ 19 มี.ค. 2017 1:15 am

Thank you


  • Similar Topics
    ตอบกลับ
    แสดง
    โพสต์ล่าสุด

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 89 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน