รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

รู้จักกระบวนการต่างๆ ภายในระบบ ERP

ERP - OpenERP Overview ทำความรู้จัก ระบบ ERP ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับโครงสร้างของ OpenERP สถาปัตยกรรม ระบบ ERP ทำความรู้จัก บทความความรู้เรื่อง ระบบ ERP ที่ใช้งานได้ฟรี
openerp_docman
โพสต์: 393
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 06 ต.ค. 2012 10:11 am

รู้จักกระบวนการต่างๆ ภายในระบบ ERP

โพสต์โดย openerp_docman » เสาร์ 03 พ.ย. 2012 4:33 pm

กระบวนการในระบบ ERP - แต่ละวงจรจะประกอบไปด้วยข้อมูลย่อยๆ อีกหลายขั้นตอน การทำงานแต่ละกระบวนการอาศัยข้อมูลอิสระและข้อมูลเชื่อมโยงจากผลการทำงานของส่วนอื่น ภาพรวมต่างๆ สามารถอธิบายได้ ดังนี้

1.วงจรการขาย (Sell Cycle)
- การเสนอราคา (Quoting) การสร้างใบเสนอราคาสามารถเรียกดูข้อมูลจากระบบได้ เช่น ต้นทุนลูกค้า ข้อมูลลูกค้า การปรับเปลี่ยนรายละเอียดสินค้า เพื่อใช้ติดตามลูกค้า เมื่อลูกค้ายืนยันคำสั่งซื้อระบบจะเเปลงข้อมูลเป็นคำสั่งขาย
- การสร้างคำสั่งขาย (Sales Order - SO) เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับลูกค้า เมื่อมีการตกลงซื้อขาย ฝ่ายขายจะสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้วระบบจะเข้าไปจองไว้ แต่หากสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลวางแผนผลิตต่อไป
- การจัดส่งสินค้า ข้อมูลคำสั่งขายถูกใช้เป็นข้อมูลจัดส่งอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่จัดส่งสามารถทราบว่า จะต้องเตรียมสินค้าอะไร สามารถพิมพ์เอกสาร เช่น ใบกำกับสินค้า/ใบแจ้งหนี้ได้

2.วงจรการวางแผน (Plan Cycle) - ข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายถูกนำมารวมกันไว้สำหรับการคำนวณ การวางแผนในระบบ ERP จะมี 2 ส่วน ได้แก่
- การวางแผนวัสดุ (Material Plannin) การวางแผนผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า และรักษาปริมาณวัสดุไว้ในระดับที่ต้องการ การวางแผนวัสดุ เริ่มตั้งแต่การสร้างแผนผลิตหลัก (Master Production Schedule - MPS) ข้อมูลจะถูกส่งไปยังการวางแผนวัสดุเพื่อสั่งวัสดุเพิ่ม
- การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) การหากำลังการผลิตของทรัพยากร เช่น คน เครื่องจักร เป็นต้น ระบบ ERP แบ่งการวางแผนกำลังการผลิตเป็น 2 แบบ คือ
1. การวางแผนกำลังผลิตแบบหยาบ เพื่อเปรียบเทียบกำลังการผลิตที่ต้องการจากแผนการผลิตหลักกับทรัพยากรหลัก
2. การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต เพื่อเปรียบเทียบกำลังการผลิตที่ต้องการกับความต้องการวัสดุกับทรัพยากร
ซึ่งผลลัพธ์จากการวางแผนทั้ง 2 แบบ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ แผนผลิต และ แผนจัดซื้อ

3. วงจรการสั่งซื้อ (Buy Cycle)
- การแปลงแผนสั่งซื้อเป็นคำสั่งซื้อ จากการ Run MRP ระบบจะแนะนำแผนการสั่งซื้อให้ผู้ใช้ตรวจสอบรายละเอียดของแผน เมื่อผ่านการทดสอบจะทำการแปลงแผนเป็นคำสั่งซื้อ
- การสร้างคำสั่งซื้อตามการร้องขอจากผู้ขอซื้อ เมื่อบันทึกข้อมูลที่ต้องการซื้อในใบขอซื้อ ระบบจะตรวจสอบความถูกต้องต่างๆ ข้อมูลจะถูกส่งต่อให้กับผู้มีอำนาจตรวจสอบและอนุมัติ ผู้ซื้อถึงจะออกคำสั่งซื้อได้
- การรับวัตถุดิบและการตรวจสอบคุณภาพ เมื่อ Supplier มาส่งสินค้าพร้อมใบกำกับสินค้า / ใบแจ้งหนี้ ระบบจะอัพเดทสินค้าในคลัง และบันทึกผลการรับสินค้า เราสามารถกำหนดว่าวัตถุดิบใดบ้างที่ต้องผ่านการตรวจคุณภาพ ข้อมูลการรับสินค้าจะถูกส่งไปยังฝั่งบัญชีเพื่อตั้งเจ้าหนี้อัตโนมัติ

4. วงจรสินค้าคงคลัง (Inventory Cycle) กิจกรรมในการควบคุมสินค้าคงคลังประกอบด้วย การรับวัสดุ การตัดจ่าย และปรับปรุงปริมาณวัสดุในคลังสินค้า การเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลังมีผลต่อยอดสินค้าคงเหลือ ระบบ ERP มีการนับสินค้าคงคลังแบบ Physical Count เพื่อให้สินค้าในคลังกับที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ตรงตามจริง เราสามารถกำหนดระดับการควบคุมสินค้าคงคลังได้ตามความเหมาะสม ในการรับหรือตัดจ่ายวัสดุต้องมีการอ้างอิงตลอดเวลา

5. วงจรการผลิต
- การสร้างคำสั่งผลิต (Work Order - WO) คำสั่งผลิตสามารถสร้างได้จากหลายทาง เช่น แปลงแผนคำสั่งการผลิตที่ได้จากการ RUN MRP เป็นคำสั่งผลิต หรือแปลงคำสั่งขายเป็นคำสั่งผลิตโดยตรง
- การดำเนินงานและควบคุมการผลิต นำคำสั่งผลิตไปปฏิบัติ เปรียบเทียบปริมาณงานกับกำลังการผลิตของแต่ละสถานีงาน จัดลำดับงานที่อยู่ในแถวคอยการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ผลิต
- การเบิกวัสดุ สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการเบิกทีละรายการ การเบิกโดยอ้างอิงกับสูตรการผลิต
- การรายงานผลการผลิต ได้แก่ รายงานปริมาณการผลิตสินค้า ผลการตรวจสอบคุณภาพ ชั่วโมงแรงงานหรือชั่วโมงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตของแต่ละคำสั่งผลิต การรายงานผลการผลิตทำให้เราทราบสถานะของคำสั่งผลิต และให้ข้อมูลที่เราใช้ในการคิดต้นทุน

6.วงจรบัญชี (Accounting Cycle) จะบันทึกรายการทางบัญชีจากกิจกรรมต่างๆ โดยอัตโนมัติ ประกอบด้วยกระบวนการ 3 ส่วน ได้แก่
- ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Recievable) เริ่มจากสร้างใบเเจ้งหนี้ ระบบจะบันทึกรายการบัญชีตั้งลูกหนี้และภาษีขาย เมือลูกค้ามาจ่ายเงินฝ่ายการเงินจะรับเงินและส่งเอกสารการรับชำระให้ฝ่ายบัญชีบันทึกรายการ และตัดรายการบัญชีลูกหนี้ได้
- ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Accounts Payable) เริ่มจากฝ่ายบัญชีได้รับเอกสารใบแจ้งหนี้จากซัพพลายเออร์ แล้วทำรายการ Voucher ตั้งยอดเจ้าหนี้ รายการ Voucher จะเข้าสู่การอนุมัติจ่าเงินเพื่อเตรียมจ่ายเงินและพิมพ์เอกสารอนุมัติเตรียมจ่ายต่อไป เอกสารการจ่ายเงินจะถูกส่งให้ฝ่ายบัญชีบันทึกรายการจ่ายชำระหนี้ตัดรายการเจ้าหนี้และบันทึกภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger Accounts) เริ่มจากสร้างผังบัญชี เพื่อให้ระบบลงบัญชีได้โดยอัตโนมัติ แล้วส่งรายการเข้าระบบบัญชีแยกประเภทเพื่อกระทบกับยอดยกมาและรายการบัญชีในงวดปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถทำการตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึกรายการจากงบทดลอง และปิดงวดบัญชี เพื่อสรุปรายงานทางการเงินต่างๆ

ที่มา : eau.ac.th

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 101 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน