รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

ส.อ.ท. เผย หากรัฐบาลไม่ช่วยจ่ายค่าชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง SMEs อาจปิดกิจการกว่า 1 ล

รวมข่าวสารเกี่ยวกับ ธุรกิจ ความเคลื่อนไหวทางด้านธุรกิจที่สำคัญๆ แบ่งปันกันได้ที่หมวดนี้
Yamachita
โพสต์: 448
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 31 ต.ค. 2012 8:20 pm

ส.อ.ท. เผย หากรัฐบาลไม่ช่วยจ่ายค่าชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง SMEs อาจปิดกิจการกว่า 1 ล

โพสต์โดย Yamachita » อังคาร 25 ธ.ค. 2012 11:00 am

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะทำงานร่วมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อบรรเทาผลกระทบการปรับค่าจ้าง ขั้นต่ำที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ซึ่งยังไม่สรุปเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เอสเอ็มอี แต่เรื่องนี้ภาคเอกชนเห็นว่าเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้มากที่สุด เพราะค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาท มีผลต่อต้นทุนผู้ประกอบการมากและช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ 80-90% ของเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่มีประมาณ 2.9 ล้านรายในปัจจุบัน

นายกิตติรัตน์ รับข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณ 50,000 ล้านบาท เพื่อมาจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างขั้นต่ำให้ผู้ประกอบการ โดยรับที่จะหาข้อสรุปภายในเดือน ธ.ค.นี้ แต่ถ้ารัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ก็อาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอี และอาจทำให้เอสเอ็มอีปิดกิจการได้ประมาณ 1 ล้านราย และอาจทำให้เอสเอ็มอีที่ได้เข้าร่วมโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำตามมาตรการต่างๆ วงเงินประมาณ 100,000 ล้านบาท ของรัฐที่มีมาก่อนหน้านี้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ทั้งนี้ หากเอสเอ็มอีไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลจะทำให้เอสเอ็มอีขาดสภาพคล่อง และอาจมีผลต่อการชำระหนี้จนต้องปิดกิจการได้ และจะทำให้เอสเอ็มอีต้องถูกสถาบันการเงินยึดหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ค้ำประกัน เงินกู้ โดยหลังจากที่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำไปแล้ว 6 เดือน จะเห็นชัดเจนว่ามีผู้ประกอบการที่รับต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นก้าวไม่ได้และต้องปิดตัว จึงเห็นว่ามาตรการจ่ายเงินส่วนต่างควรออกมาเพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนค่าแรงของผู้ประกอบการในช่วง 3 ปี ที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับ


ที่มา : smethailandclub.com

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 16 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน