รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

ตั้งกองทุน SMEs ช่วยเหลือโรงงานขนาดเล็กเพื่อชดเชยค่าแรงที่เพิ่มขึ้น

รวมข่าวสารเกี่ยวกับ ธุรกิจ ความเคลื่อนไหวทางด้านธุรกิจที่สำคัญๆ แบ่งปันกันได้ที่หมวดนี้
Yamachita
โพสต์: 448
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 31 ต.ค. 2012 8:20 pm

ตั้งกองทุน SMEs ช่วยเหลือโรงงานขนาดเล็กเพื่อชดเชยค่าแรงที่เพิ่มขึ้น

โพสต์โดย Yamachita » พุธ 21 พ.ย. 2012 10:29 am

"วีระยุทธ สุขวัฑฒโก" นำทีมสภาอุตฯภาคเหนือ เปิดศึกขับ "พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล" พ้นเก้าอี้ประธานสภาอุตฯ ประชุมบอร์ดบริหาร 26 พ.ย.นี้ พร้อมระดมความเห็นสมาชิกภาคเหนือดิ้นหนีตายค่าแรง 300 บาท ดันตั้ง "กองทุน SMEs" ช่วยเหลือโรงงานขนาดเล็ก เผยเตรียมบี้ "พยุงศักดิ์" แจงเหตุผลไม่ผลักดันชะลอขึ้นค่าแรง ด้านวงใน ส.อ.ท.มอง แค่เกมหวังผลอนาคต พ.ร.บ.ส.อ.ท.ไม่มีระบุยื่นถอดถอนประธานได้

นายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก รองประธานและประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ภายหลังการหารือร่วมกันของกลุ่มเพื่อร่างข้อเสนอมาตรการเพื่อเยียว ยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมเน้นหารือประเด็นเรื่องการจัดตั้งกองทุน SMEs เพื่อนำมาชดเชยส่วน ต่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้น โดยในปีแรกกำหนดให้กองทุนชดเชยส่วนต่างทั้งหมดร้อยละ 100 ในปีที่ 2 ลดการชดเชยของกองทุนลงมาที่ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการรับภาระร้อยละ 20 ในปีสุดท้ายลดการชดเชยอยู่ที่ร้อยละ 75 และผู้ประกอบการรับภาระร้อยละ 15 และกำหนดเงื่อนไขให้ชดเชยไปจนกว่าที่ผู้ประกอบการจะสามารถปรับตัวได้

ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ ประมาณ 2.9 ล้านราย และมีมากกว่า 1,000 รายที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง เพราะต้นทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 ตามข้อมูลล่าสุดมีผู้ประกอบการSMEs ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ส.อ.ท. ยกตัวอย่าง โรงงานผลิตกระดุม ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ที่ได้หยุดเดินเครื่องผลิตตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา และเร็ว ๆ นี้ จะปิดไลน์การผลิตแล้ว เห็นได้ชัดว่าการปรับขึ้นค่าแรงส่งผลกระทบอย่างหนัก และหากรัฐบาลไม่มีมาตรการออกมาเยียวยา ปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้าจะมีอีกหลายโรงงานที่จะปิดตัวลง

"เราทราบว่า เป็นนโยบายของภาครัฐที่ต้องการปรับค่าแรง ทางกลุ่มไม่ได้คัดค้าน เพียงแต่จะต้องมีกลไก หรือการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย สำหรับโรงงานใหญ่ ๆ สามารถอยู่ได้อยู่แล้ว แต่รายเล็ก ๆ มันอยู่ไม่ได้ มาตรการทางภาษีที่เข้ามาช่วยก็ช่วยได้แค่ 10% แต่ส่วนที่เหลือไม่มีการช่วยเหลือ" นายวีระยุทธกล่าว

นาย วีระยุทธกล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการประชุมคณะกรรมการบริหาร ส.อ.ท. ในวันที่ 26 พ.ย.นี้ ที่ประชุมต้องการให้ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. ชี้แจงเหตุผลที่ไม่สามารถผลักดันเรื่อง "การชะลอค่าแรง 300 บาท" นำเสนอต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 แม้ว่าก่อนหน้านี้ นายพยุงศักดิ์จะมีการชี้แจงไปเบื้องต้นแล้วว่า เนื่องจากเป็นเพียงการประชุม ครม.สัญจร ไม่สมควรนำเรื่องใหญ่อย่างค่าแรงเข้าไปหารือ แต่เหตุผลการชี้แจงดังกล่าวนั้น "ฟังไม่ขึ้น"

อย่างไรก็ตามต้องรอ การชี้แจงของนายพยุงศักดิ์ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในภาพรวมด้วยว่าจะดำเนินการถึงขั้นถอดถอน นายพยุงศักดิ์ได้หรือไม่ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมามีการผลักดันในเรื่องขอชะลอขึ้นค่าแรงน้อยมาก แม้ว่าสมาชิกจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากก็ตาม

ด้านแหล่งข่าวจาก ส.อ.ท.เปิดเผยว่า ขณะนี้เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนักเกิดขึ้นกับสมาชิกของ ส.อ.ท. โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็น Real Industry และ 2)กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป โดยทั้ง 2 กลุ่มมีจำนวนสมาชิกเท่า ๆ กัน สำหรับกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องให้ประธาน ส.อ.ท.พิจารณาการทำงานนั้น มองว่าเป็นเพียงสมาชิกกลุ่มเล็ก ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป และตามหลักการของ ส.อ.ท.เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยมีพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย 2530 รองรับ และตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ.ไม่ได้มีกฎระเบียบกำหนดว่า สมาชิกสามารถถอดถอนประธาน ส.อ.ท. ด้วยวิธีล่ารายชื่อ หรือเพียงแค่การยกมือโหวตด้วย

ทั้งนี้ สมาชิก ส.อ.ท.ต้องยอมรับว่า นโยบายปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทนั้น เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องดำเนินการคือการปรับตัว ในส่วนของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนนั้นถือว่าเป็นเพียงแกนกลาง และเป็นสมาชิกส่วนน้อยที่จะผลักดัน

ให้มีการชะลอขึ้นค่าแรง และเรียกร้องให้ถอดถอนนายพยุงศักดิ์ ในขณะที่กลุ่มจังหวัดอื่น ๆ เช่น กลุ่มสมุทรปราการ กลุ่มสระบุรี หรือกลุ่มปทุมธานี ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ และไม่ได้มีความเห็นเหมือนกับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน

"ใน พ.ร.บ.ไม่มีรายละเอียดที่ระบุว่าจะสามารถถอดถอนประธานสภาอุตฯได้ ในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ และแม้จะมีการรวบรวมรายชื่อ หรือการโหวต เพื่อให้นายพยุงศักดิ์ออกจากตำแหน่งนั้น มองว่าสามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่ที่นายพยุงศักดิ์จะทำอย่างไร แต่มันจะกลายเป็นแผลที่อยู่ในใจนายพยุงศักดิ์ หากทนแรงบีบได้ก็ทำงานต่อได้"

แหล่ง ข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นนี้เป็นเพียงการหวังผลเล่นเกมการเมือง เพื่อสร้างกลุ่มอำนาจใน ส.อ.ท.ในอนาคตเท่านั้น เพราะนายพยุงศักดิ์อยู่ในตำแหน่งนี้ในวาระที่ 2 แล้ว ซึ่งจะหมดวาระในเร็ว ๆ นี้ อาจจะมีกลุ่มคนที่หวังผลในการก้าวสู่ตำแหน่งประธาน ส.อ.ท.คนต่อไปก็ได้

สำหรับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ปัจจุบันนั่งในตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในวาระที่ 2 เข้าสู่ปีที่ 3 โดยตำแหน่งนี้จะมี 2 วาระ วาระละ 2 ปี โดยนายพยุงศักดิ์จะครบวาระ 4 ปี ในปี 2557


ที่มา : prachachat.net

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 33 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน