รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

นักธุรกิจไทยไร้กังวลเตรียมตัวบุก! ตลาดAEC

รวมข่าวสารเกี่ยวกับ ธุรกิจ ความเคลื่อนไหวทางด้านธุรกิจที่สำคัญๆ แบ่งปันกันได้ที่หมวดนี้
Yamachita
โพสต์: 448
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 31 ต.ค. 2012 8:20 pm

นักธุรกิจไทยไร้กังวลเตรียมตัวบุก! ตลาดAEC

โพสต์โดย Yamachita » ศุกร์ 02 พ.ย. 2012 12:04 pm

เสวนาธุรกิไทยจะอยู่อย่างไรหลังเปิดเสรีอาเซียน.jpg


ด้านความพร้อมและความเข้าใจของผู้ประกอบการนั้น ในขณะนี้เชื่อว่าผู้ประกอบการมีความพร้อมแลเข้าใจเป็นอย่างดี ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การก้าวเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็น “ตลาดและฐานการผลิตเดียว” โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือภายในอาเซียนอย่างเสรี มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นภายในปี 2558 ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออก นำเข้า หรือผู้ที่ทำธุรกิจภายในประเทศ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม จะต้องเรียนรู้และปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจภาคเอกชนเชียงใหม่ โดยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือกับ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) จัดงานเสวนา “ธุรกิจไทย..จะอยู่อย่างไรหลังเปิดเสรีอาเซียน” ณ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการเชียงใหม่

“หม่อมอุ๋ย”เผย ไทยเข้าร่วมอาเซียนได้เปรียบประเทศอื่นทั้งภาคเกษตรและอุตสหกรรมรวมถึงความพร้อมของผู้ประกอบการ ไม่หวั่นนักธรุกิจต่างชาติใช้โอกาสลงทุนในไทย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในการเสวนาถึงผลกระทบจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาคธุรกิจของไทยว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทั้งดีและเสีย แต่โดยรวมแล้วค่อนข้างได้เปรียบ เนื่องด้วยความพร้อมของไทยในด้านภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ที่สามารถครองตลาดอเมริกา ยุโรป และเอเชียในหลายๆ ประเทศ ส่วนที่อาจเสียเปรียบอาจเป็นสินค้าที่ใช้แรงงานเยอะ ในด้านความพร้อมและความเข้าใจของผู้ประกอบการนั้น ผู้ประกอบการมีความพร้อมและความเข้าใจเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในส่วนของผลกระทบด้านธุรกิจในเขตภาคเหนือนั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร มองว่าจะมีแต่ผลดี กล่าวคือ ภาคเหนือเป็นธุรกิจบริการที่ทุกประเทศในอาเซียนยอมรับ และไม่มีประเทศไหนสู้ได้ แต่หากจะกล่าวคือปัญหาก็คงเกิดจากการแข่งขันของผู้ประการ โดยเฉพาะการแข่งขันด้านบริการโรงแรมที่มีมากจนเกินไป

อย่างไรก็ดี เมื่อถามถึงความกังวลที่นักธุรกิจต่างชาติในอาเซียนจะใช้โอกาสเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นหรือเปล่าจากการเข้าร่วมอาเซียนครั้งนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เผยว่า ไม่น่ามีผลอย่างใด เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดนานแล้ว รวมไปถึงประเทศไทยก็ได้ทำการค้ากับประเทศจีน อเมริกา และยุโรปมายาวนานแล้ว ดังนั้นการที่ประเทศไทยเข้าร่วมอาเซียนจึงไม่ใช่ประเด็นที่ไทยจะต้องกังวล

ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนประเทศไทย แนะเอสเอ็มอีไทยจะต้องเปลี่ยนรูปแบบจากการแข่งขันกันเองมาเป็นประสานงานกัน ทางด้านนายอรินทร์ จิรา ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าคนไทยยังงงกับเรื่อง AEC แต่มาถึงวันนี้ก็ยังไม่รู้ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งจริงๆแล้วการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสิ่งสำคัญคือเรื่องของภาษา ซึ่งนอกจากภาษาอังกฤษที่จะใช้เป็นภาษากลางแล้ว คนไทยควรจะศึกษาเรียนรู้ภาษาของเพื่อนบ้านด้วย วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนก็เพื่อให้เป็นฐานผลิตและฐานตลาดเดียว มีการเคลื่อนย้ายด้านธุรกิจบริการเสรี เงินทุนเสรีและแรงงานมีฝีมือมีเสรีมากขึ้น ส่วนประเทศไหนจะได้เปรียบในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากที่สุดก็ขึ้นอยู่กับความพร้อม

ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนประเทศไทย กล่าวอีกว่า ในการแข่งขันแบบเสรีที่เลวร้ายที่สุดคือธุริจเอสเอ็มอี ซึ่งหากไม่มีการเตรียมตัวหรือปรับปรุงทั้งบุคลากร วิธีการทำงาน โดยเฉพาะดูเรื่องต้นทุนการผลิตแล้วก็อาจจะทำให้เอสเอ็มอีไทยล้มหายตายจากได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วเอสเอ็มอีของนานาชาติที่มีความพร้อมมากกว่าก็จะเข้ามาตั้งรกรากในอาเซียนและใช้ประโยชน์จากการเปิดฐานตลาดที่ใหญ่ขึ้น ด้านแรงงานฝีมือจะมีความเป็นเสรีมากขึ้น อาทิ 7 สาขาที่มีการเดินไปทำงานในกลุ่มประเทศอาซียนได้อย่างเสรีอาทิ1. หมอ 2.พยายาล 3. หมอฟัน 4.วิศวกร 5.สถาปัตยกรรม 6.นักสำรวจ 7.นักการบัญชี เฉพาะ 7 อาชีพสามารถเดินทางไป – มา เข้าสู่ประเทศต่างๆ กลุ่มอาเซียนอย่างเสรี อีกอาชีพหนึ่งก็เดินทางได้คือ การบริการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดนี้จะต่างแตกจากอาชีพอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้นำอาเซียนต้องยกเลิกข้อผูกมัด อาทิเรื่องเสรีของหมอว่าต้องพูดภาษาได้ต้องจบระดับนั้น ระดับนี้ หากยกเลิกก็จะดีในเรื่องของการกีดกัน ถือว่าเป็นการมองที่แคบ เราต้องมีการแรกเปลี่ยนเราไปประเทศเขาได้ เขามาประเทศเราได้นี้น่าจะดีกว่า หากถือว่าประเทศไทยจะได้เปรียบด้านอะไรบ้าง หากตอบว่าได้เปรีบทุกด้านเชื่อว่าไม่มีประเทศไหนเข้ามาลงทุนกับเราแน่นอน

ส่วนด้านเอสเอ็มอี หากว่ายังไม่มีการปรับปรุงบุคคลกร วิธีการทำงานทบทวนเรื่องต้นทุนเราก็ไมม่สามารถตามเขาได้ หากไม่มีการปรับตัวจะมีSMEs เสียหายเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่ประเทศไทยอย่างเดียวทั่วอาเซียน เอสเอ็มอี อินเตอร์เนชั่นแนล ยุโรป อเมริกา เกาหลี และญี่ปุ่น กลุ่มนี้ให้ความสนใจมาก ซึ่งจะเข้ามาแข่งขันกับเรา เราต้องมีการเปลี่ยนวิธีใหม่ในการแข่งขันที่ประสานงานกัน อุตสาหกรรมที่ทำเหมือนกับเราต้องร่วมมือกัน ด้านการผลิตหากวัตถุดิบที่ไหนถูกเราก็สามารถย้ายฐานผลิตไปที่นั้นได้ โดยติดต่อกันเป็นพันธิมิตรกับประเทศนั้นติดต่อค้าขายผ่านประเทศเรา เรื่องการแข่งขันคิดว่าจะมีอยู่เรื่อย อยู่ที่การปรับตัวของธุรกิจ และอุตสาหกรรมนั้นๆ

ระธานกิตติมศักดิ์หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สินค้าไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ในข้อมูลด้านเศรษฐกิจเกษตร อาหารแปรรูปโตเร็วมาก และจากฐานของล้านนาถือเป็นจุดแข็งและประกอบกับชาติพันธุ์ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน ให้เอาวัฒนธรรมไม่ใช่เอาเศรษฐกิจนำ และประเทศไทยยังไม่ได้โอกาสในภูมิศาสตร์เป็นตัวนำไม่เหมือนลาว ที่ใช้แลนด์ลิงค์ที่มีปัจจัยเอื้อแต่ก็มีวิธีปกป้องธุรกิจภายใน

นายณรงค์ กล่าวด้วยว่า ในการออกไปทำธุรกิจนอกประเทศต้องรวมตัวกันไป และอย่าไปดูถูกเพื่อนบ้าน เพราะคนไทยข้อเสียคือปากสว่าง ทำให้ถูกมองว่าคนไทยชอบเอาเปรียบและก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจ หากละทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้จะทำให้การออกไปลงทุนต่างประเทศก้าวหน้าได้
สำหรับอัตราเงินเดือนของประเทศในอาเซียนเมื่อเทียบกับจีนคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดคือสิงคโปร์ 1,200 ดอลลาร์ต่อเดือนซึ่งเป็นค่าแรงในการผลิต อันดับ 2 คือจีน 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ อันดับ 3 มาเลเซีย 298 ดอลลาร์ ส่วนไทย 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ เวียดนาม 107 ดอลลาร์สหรัฐฯแต่ต่ำสุดคือพม่า 54 ดอลลาร์สหรัฐฯ และในไทยก็เริ่มมีแรงงานจากฟิลิปปินส์ซึ่งค่าแรงต่างภาคการผลิตอยู่ที่ 210 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน


ที่มา : chiangmainews.co.th
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 87 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน