รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

ทางรอดกาแฟไทย ชูอัตลักษณ์สร้างมูลค่าเพิ่มมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางกาแฟสู่อาเซียน

รวมข่าวสารเกี่ยวกับ ธุรกิจ ความเคลื่อนไหวทางด้านธุรกิจที่สำคัญๆ แบ่งปันกันได้ที่หมวดนี้
Yamachita
โพสต์: 448
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 31 ต.ค. 2012 8:20 pm

ทางรอดกาแฟไทย ชูอัตลักษณ์สร้างมูลค่าเพิ่มมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางกาแฟสู่อาเซียน

โพสต์โดย Yamachita » ศุกร์ 28 ธ.ค. 2012 10:24 am

[center]รูปภาพ[/center]

อุตสาหกรรมกาแฟของไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด จากการเป็นผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ของโลก ซึ่งส่งออกเมล็ดกาแฟคิดเป็นสัดส่วน 80% ของผลผลิตทั้งประเทศที่ประมาณ 9 หมื่นตัน - 1 แสนตัน มาปัจจุบันมีการส่งออกกาแฟด้วยสัดส่วนเพียง 5% ของผลผลิตทั้งหมดที่ลดลงเหลือ 4 หมื่นตัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกลดน้อยลงเหลือที่ประมาณ 2.8 แสนไร่ ขณะที่การบริโภคภายในประเทศมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 ภาษีการนำเข้ากาแฟจะลดลงเหลือ 0% จากปัจจุบันที่ยังจัดเก็บอยู่ที่ 5% ตั้งแต่ปี 2553 และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ทำให้คาดการณ์กันว่าจะมีกาแฟจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันในประเทศมากขึ้นจากแนวโน้มดังกล่าว นางวารี สดประเสริฐ นายกสมาคมกาแฟไทย กล่าวว่า ภายใน 3 ปีจากนี้เราจะต้องพยายามรักษาตลาดภายในประเทศให้ได้ จึงต้องเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยเองด้วย ซึ่งการรักษาตลาดนั้นมองว่ามีความเป็นไปได้อยู่แล้ว แต่เราจะต้องมีการพัฒนา และทักษะในการพัฒนาของไทยเองก็ไม่แพ้ใครแน่นอน

ทั้งนี้ ตั้งแต่ภาวะตลาดกาแฟเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สมาคมได้ปรับเปลี่ยนบทบาท จากเดิมจะเน้นบุกเบิกตลาดต่างประเทศ มาเป็นการดูแลตลาดในประเทศ ด้วยการมุ่งดูแลและพัฒนาคุณภาพกาแฟไทยให้มีความเหมาะสมกับความต้องการตลาดในประเทศ และส่งเสริมให้มีการใช้กาแฟไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการกำหนดวิสัยทัศน์ให้มุ่งสู่การเป็น "ศูนย์กลางกาแฟสู่อาเซียน" ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงภาครัฐด้วย

โดยการส่งเสริมจะไม่เน้นการขยายพื้นที่เพาะปลูก แต่จะเน้นการพัฒนาคุณภาพ การสร้างกาแฟเฉพาะ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งขณะนี้สมาคมได้มีส่วนในการผลักดันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำการศึกษาถึงการพัฒนาพันธุ์ และสร้างพันธุ์กาแฟเฉพาะขึ้นมา เช่น ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกกาแฟจะเป็นสวนผสมกับการปลูกผลไม้ จึงน่าศึกษาดูว่าจะเพิ่มเติมในส่วนนี้อย่างไรให้ได้มากกว่าที่จะเป็นกาแฟล้วนๆ "การที่เราจะแข่งขันได้นั้น คงไม่ไปแข่งกับเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟโรบัสตารายใหญ่สุดของโลก รวมไปถึง ลาว และอินโดนีเซีย โดยเราจะไม่ไปแข่งขันในการทำกาแฟที่มีคุณภาพในเกรดเดียวกัน แต่จะหาทางออกโดยพัฒนากาแฟพิเศษที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ซึ่งแต่ละจังหวัดที่มีการปลูกกาแฟก็จะสามารถจะพัฒนาอัตลักษณ์ขึ้นมาได้" นางวารี กล่าว

อย่างไรก็ตาม การจะไปสู่ฮับกาแฟได้นั้น เราคงไม่ได้เน้นการขายเฉพาะเมล็ดกาแฟเท่านั้น แต่จะต้องดูแลให้ครบวงจร ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยจะเน้นส่งเสริมให้ใช้กาแฟที่ผลิตในประเทศก่อน แต่เกษตรกรไทยเองก็จะต้องมีการพัฒนาพันธุ์ มีการคิดค้นกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนขึ้นมา เพื่อผลิตกาแฟที่ดีป้อนตลาดรอบนอกและตลาดโลกได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้ประกอบการ ก็จะเน้นเรื่องการพัฒนาสูตรกาแฟ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้กาแฟที่มาจากหลายแหล่ง พัฒนาเป็นสูตรเฉพาะขึ้นมาให้ได้

ทั้งนี้ การผลิตกาแฟเฉพาะขึ้นมาได้ก็จะทำให้มูลค่าของกาแฟเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติก็จะมีราคาสูงกว่ากาแฟปกติ 20-30% นางวารี กล่าวถึงตลาดกาแฟในประเทศด้วยว่า คนไทยมีการบริโภคกาแฟเพิ่มขึ้นโดยตลอดระยะ 5-10 ปีที่ผ่านมาอัตราการบริโภคเติบโตเฉลี่ยที่ 10% ต่อเนื่อง มูลค่าตลาดรวมกาแฟอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และยังมองว่าตลาดยังสามารถเติบโตได้อีกเนื่องจากการบริโภคกาแฟของคนไทยอยู่ที่ 200 แก้วต่อคนต่อปี ถือว่ายังมีช่องว่างอีกมาก ขณะที่อัตราการบริโภคกาแฟของชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 500 แก้วต่อคนต่อปี และคนอเมริกันบริโภคที่ 700-800 แก้วต่อคนต่อปี

ด้านนายสุธรรม วิชชุไตรภพ ประธานมูลนิธิชาวสวนกาแฟ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมการเปิดเสรีนั้นได้ทำมาต่อเนื่องตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยมีการหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และภาครัฐ เพื่อหาทางออกร่วมกันในแต่ละปีเน้นเกษตรกรอยู่ได้ โรงงานอยู่ได้ กำหนดราคาร่วมกันโดยรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาสูงกว่าต้นทุน เท่ากับเป็นการประกันราคาที่ภาครัฐไม่จำเป็นจะต้องเข้ามาแทรกแซง นอกจากนี้ ปัจจุบันผลผลิตกาแฟในประเทศปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 4-5 หมื่นตัน ไม่พอกับการบริโภคในประเทศ ก็มีการตกลงกันว่าจะซื้อผลผลิตจากในประเทศให้หมดก่อนที่จะนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศ

ส่วนความพร้อมตามเป้าหมายการจะเป็นศูนย์กลางกาแฟสู่อาเซียนนั้น ในขั้นต้นต้องสร้างให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในอาชีพก่อนว่ามีความมั่นคง เนื่องจากการปลูกกาแฟนั้นแม้จะได้ราคาดีแต่ก็ยากกว่าการปลูกยาง และปาล์ม ทั้งในด้านแรงงาน และการปฏิบัติดูแลรักษา การที่เราจะไปปลูกสู้เวียดนามนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะลักษณะสังคม นโยบายของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ซึ่งในไทยเองเกษตรกรมีอิสระที่จะเลือกว่าจะปลูกพืชชนิดใด ดังนั้น การจะส่งเสริมการปลูกกาแฟ จะต้องทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นว่าในระยะยาวการปลูกกาแฟจะดีกว่า เมื่อเขาเชื่อมั่นแล้วขั้นต่อไปก็คือการเข้าไปพัฒนา ติดอาวุธให้แก่กลุ่มเกษตรกร


ที่มา : komchadluek.net

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 34 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน