รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

นักวิชาการชี้ SME ไทยต้องพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่สังคมโลก

รวมข่าวสารเกี่ยวกับ ธุรกิจ ความเคลื่อนไหวทางด้านธุรกิจที่สำคัญๆ แบ่งปันกันได้ที่หมวดนี้
Yamachita
โพสต์: 448
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 31 ต.ค. 2012 8:20 pm

นักวิชาการชี้ SME ไทยต้องพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่สังคมโลก

โพสต์โดย Yamachita » พุธ 07 พ.ย. 2012 10:34 am

นักวิชาการ เอกชน ชี้ทางเอสเอ็มอีไทย ต้องเน้นการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ สู้ศึกสังคมโลก

นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนา พลิกเส้นทางพัฒนา..สถาปนาความมั่งคั่งใหม่ให้ประเทศ จัดโดย สถาบันอนาคตไทย และสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาการวิจัยพัฒนาที่ไม่ตอบสนองกับความต้องการของภาคเอกชน ดังนั้นแนวทางการการแก้ไขจะต้องร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภาค รัฐบาล เอกชนและนักวิชาการ ซึ่งจะต้องร่วมกันวิจัยและพัฒนา เพื่อนำมาสู่แนวทางการปฏิบัติได้จริง ที่สำคัญที่ผ่านมาภาครัฐยังขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังที่ผลักดันด้านการพัฒนานวัตกรรม และการสร้างแบรนด์ ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์สินค้า

“ผมไม่ห่วงบริษัทขนาดใหญ่เพราะสามารถมีเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ประกอบการขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี)ที่ไม่ทุนในการวิจัย ดังนั้น เป็นบทบาทหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเข้ามาช่วยเหลือด้านวิจัยและพัฒนาเอสเอ็มอี” นายพงษ์ศักดิ์กกล่าว

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อ2ปี ก่อน ได้สำรวจเอสเอ็มอีกกว่า 70% ไม่รู้จักการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (เออีซี) และล่าสุดที่ส่วนใหญ่เอสเอ็มอีทราบเรื่องการเปิดเออีซีปี 58 แต่ไม่ทราบว่าจะมีผลดีผลเสียอย่างไงต่อธุรกิจและยังไม่สามารถที่จะปรับตัวได้

คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ต่อไปนักวิชาการ ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ควรร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อนำบทวิจัยต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากที่ผ่านมาภาควิชาการ และภาคเอกชน ยังขาดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง โดยทางภาคเอกชน ควรตั้งโจทย์ เพื่อให้ภาควิชาการ ศึกษาวิจัย ซึ่งที่ผ่านมามีมหาวิทยาลัย และภาคเอกชน ทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก

“ต่อไปจะต้องดูว่า จะทำอย่างไรให้ภาควิชาการและเอกชน เปิดประตูทะลวงหากันให้ได้ แต่ก่อนอยู่กันคนละโลก นักวิชาการก็ควรลงมาจากหอคอย เพื่อมาเปิดโลกทัศน์ให้เห็นความจริง ส่วนเอกชนก็ควรบอกโจทย์มาว่าอยากให้วิจัยวิเคราะห์อะไร ภาควิชาการก็จะได้คิดให้ ซึ่งในมหาวิทยาลัย มีนักวิชาการที่เก่งๆ เยอะมาก เชื่อว่า ถ้าเปิดเข้าหากันได้ เราจะยืนอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไม่อายใคร”

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ กล่าวว่า ภาพรวมการแข่งขันในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย ขณะนี้เริ่มมีการเข้ามาทำตลาดของสินค้าจากประเทศเกาหลีมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายบริษัทในประเทศไทยได้รับผลกระทบเนื่องจากการแข่งขันทางด้านราคา โดยกำไรของเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยการรับมือเพื่อความอยู่รอดของบริษัทในการปรับกลยุทธ์คือการเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคโดยการทำวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะต้องมีการร่วมมือกับหลายฝ่าย อาทิ บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

“ตัวอย่างเช่นเดิมความต้องการตู้เย็นในประเทศเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ประตู จนกระทั่งเปลี่ยนมาเป็น 2 ประตู ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งสังเกตได้ว่าผู้บริโภคเริ่มมีความต้องการสินค้าที่ต้องการการออกแบบดีไซน์บ่งบอกความเป็นตัวตนมากซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนในการเป็นโอกาสในการทำการตลาดสู้กับการแข่งขันด้านราคา”นางกอบกาญจน์ กล่าว

ทั้งนี้ สำหรับการวิจัยและพัฒนาทางด้านสินค้าเพื่อการรองรับการเปิดเขตเสรีเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ยกตัวอย่างเช่น หม้อหุงข้าว ในการทำอย่างไรให้ห้องหุงข้าวของประเทศไทยสามารถหุงข้าวได้ในทุกประเทศของอาเซียน ดังนั้นการพัฒนาสินค้าประเภทใดๆ ก็จะต้องเป็นผู้นำและการรองรับความต้องการในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย โดยสิ่งสำคัญในแง่ของผู้ประกอบการคือการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยเฉพาะทางด้านภาษาซึ่งจะต้องสามารถรองรับทุกภาษาได้ในอาเซียน ซึ่งภาคเอกชนอยากให้มีศูนย์รวมด้านการให้คำปรึกษาด้านภาษาเพื่อพัฒนาก้าวสู่เออีซี

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า ซึ่งการพัฒนาให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม จะต้องคำนึงถึงในทุกภาคส่วนจะต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน เช่น โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด เป็นการพัฒนาร่วมกันของทุกหน่วยงาน ดังนั้นการพัฒนาและการทำงานต่างๆจะต้องเป็นการทำงานแบบซิงเกิ้ลคอมมานด์ และต้องไม่ซับซ้อนกัน โฟกัสเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เก่งเป็นเรื่องๆไป

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ กล่าวว่า ภาคเอกชนเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งบริษัท เคยได้รับโอกาสในการศึกษาการผลิต สาเก จากประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะมีการขยายฐานมาผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งเป็นการวิจัยอย่างเต็มรูปแบบทั้งบรรจุภัณฑ์และการคิดค้นการลดต้นทุนในทุกด้าน รวมถึงการวิจัยพันธุ์ข้าว ถือได้ว่าเป็นโอกาสของประเทศไทย

ทั้งนี้ รูปแบบของการพัฒนาจะต้องได้รับความร่วมมือในการบริหารจัดการของรัฐบาล โดยมุมมองของภาคเอกชนมองประเทศไทยเมื่อเทียบกับอาเซียน ประเทศไทยมีความมั่นคงและความพร้อมในการที่ประเทศไทยได้เปรียบในการทำการตลาด ซึ่งสำหรับการเปิดเออีซีเอกชนมีความพร้อมของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่การเปิดเออีซีแล้วจะสามารถเข้าไปได้ทันที จะต้องมีความพร้อมในเรื่องของบุคลากร ทักษะ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการปรับตัวอย่างมากในภาคเอกชนเพื่อรับการเปิดเออีซี

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาหลายฝ่ายยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกในการปรับตัวเตรียมความพร้อมเพื่อปรับตัวให้รองรับโอกาสเมื่อมาถึง โดยในช่วง 7 – 8 ปีที่ผ่านมาบริษัทได้มีการลงทุนในประเทศสก็อตแลนด์ ในการผลิตวิสกี้ เพื่อเปิดตลาดไปยังประเทศ รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีและเป็นการสะท้อนถึงความสำเร็จในการลงทุนรวมถึงการวิจัยในการพัฒนาการเติบโตนอกประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเปิดเออีซีเชื่อว่าจะมีการเติบโตในทุกด้านแต่อาจจะเปรียบไม่ได้เสมือนกลุ่มประเทศอียู ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อรอบโอกาสของกลุ่มเออีซี ซึ่งการเปิดเออีซีดังกล่าวเป็นการรวมกลุ่มหรือเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติซึ่งเชื่อว่าหลายบริษัทได้มีการลงทุนอยู่แล้ว ซึ่งคงจะต้องดำเนินการต่อไป

นายฐาปน กล่าวว่า ดังนั้นรูปแบบการส่งเสริมของภาครัฐ จากเดิมที่มีการส่งเสริมการลงทุนในประเทศเท่านั้น อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการส่งเสริมแบบจูงใจต่างๆ เพื่อให้ภาคเออกชนกล้าก้าวออกไปสู่เออีซี อย่างในหลายประเทศมีการสนับสนุน

“รูปแบบการสนับสนุนในปัจจุบันองค์กรของรัฐที่ให้การสนับสนุนอาจมีความซับซ้อนส่งผลให้เกิดความสับสน ดังนั้นเพื่อความชัดเจนของอนาคตประเทศไทย อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อสะท้อนความคิดเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการต่างๆ” นายฐาปน กล่าว


ที่มา : posttoday.com

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 15 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน