การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานสินค้า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ 11 ม.ค. 2013 5:16 pm
การจัดการห่วงโซอุปทาน (Supply Chain Management) มีความสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจ ทำให้สถานประกอบการทั้งด้านการผลิต ด้านการค้าและบริการต่างให้ความตระหนักและความสำคัญที่จะพัฒนาการจัดการซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ประกอบหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจทุกด้าน ปรับปรุงกระบวนการของการดำเนินธุรกิจให้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถที่จะมีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรในแต่ละห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
ความร่วมมือภายในองค์กรและนอกองค์กรในการจัดการโซ่อุปทาน
ในการเชื่อมโยงการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) คือ ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งหมายความรวมไปถึงความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความร่วมมือภายในองค์กรนั้น ได้แก่ การเชื่อมโยงของการไหลของวัสดุข้อมูล และข้อมูลทางการเงินระหว่างฝ่าย
ในการเชื่อมโยงการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) นั่นคือ ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งหมายความรวมไปถึงความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความร่วมมือภายในองค์กรนั้น ได้แก่ การเชื่อมโยงของการไหลของวัสดุข้อมูล และข้อมูลทางการเงินระหว่างฝ่าย ความล่าช้าและความไม่แน่นอนลดน้อยลง การไหลของผลิตภัณฑ์ในโซ่อุปทานก็เป็นไปได้รวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นการที่จะบริหารโซ่อุปทาน และกิจกรรมโลจิสติกส์ของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น ควรเริ่มจัดการโซ่อุปทานจากหน่วยย่อยในองค์กรตั้งแต่ระดับเล็กสุด ซึ่งได้แก่
- โซ่อุปทานในแผนก กล่าวคือ ในแผนกเดียวกันในองค์กรนั้นมีการเชื่อมโยงหรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันหรือไม่
- โซ่อุปทานระหว่างแผนก กล่าวคือ ระหว่างฝ่ายนั้นมีการแบ่งปันข้อมูลที่ควรทราบถึงกันหรือไม่
- โซ่อุปทานระหว่างองค์กร เป็นโซ่อุปทานที่มีการจับมือกันอย่างยั่งยืนระหว่างซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้าและลูกค้าเป็นความเชื่อมต่อแบบเนื้อเดียวของกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งภายในและระหว่างองค์กร (Synchronized Activities)

สำหรับ External Supply Chain จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
> Upstream เป็นองค์ประกอบแรกสุดของห่วงโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ รวมถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ จนเป็นวัตถุดิบในการผลิตและเข้าสู่กระบวนการผลิตขององค์กร
> Downstream เป็นองค์ประกอบส่วนท้ายของห่วงโซ่ จะเริ่มต้นที่ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ผู้ขายตรง จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย
ฉะนั้น เราจะพบว่า Internal Supply Chain เป็นส่วนที่เริ่มตั้งแต่หลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้ว ทางฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดจะส่งข้อมูลให้ฝ่ายวางแผนการผลิตหลัก (Master Production Scheduling-MPS) และจัดประชุมการผลิตสินค้าใหม่ (New Products) เพื่อเตรียมแผนการผลิตว่าจะผลิต “อะไร” “เมื่อไร” “เท่าไร” จากนั้นทำการแตกโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Bill of Materials-BOM) เพื่อคำนวณแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning-MRP) และพิจารณากำลังการผลิตเพื่อออกแบบแผนกำลังการผลิต (Capacity Requirement Planning-CRP) เมื่อพร้อมที่จะผลิตแล้วจึงทำการจัดลำดับการผลิต (Scheduling) เพื่อเป็นการกำหนดว่าจะลงสายการผลิตหรือเครื่องจักรใด “เมื่อไร” “เท่าไร”
หลังจากนั้น ฝ่ายวางแผนจะแจ้งความต้องการวัตถุดิบไปยังแผนกจัดซื้อ เพื่อทำการสั่งซื้อวัตถุดิบ (Purchase Order) โดยมีการตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบคงคลัง รวมถึง Lead Time ของ Supplier เมื่อ Supplier มาส่งวัตถุดิบ ทางคลังสินค้าก็จะทำการรับวัตถุดิบเข้าคลังสินค้า โดยมีการ Key ข้อมูลเข้าในระบบ Express เป็นระบบ IT ที่เชื่อมโยงภายในองค์กร เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบข้อมูล ในระหว่างการผลิตจะมีการควบคุมและตรวจสอบสถานะของการผลิต พร้อมทั้งมีการแจ้งปัญหาด้านการผลิต หรือการขาดแคลนวัตถุดิบไปยังฝ่ายวางแผนการผลิต ตลอดจนสถานะสินค้าสำเร็จรูปที่มีการผลิตเสร็จแล้ว หลังจากที่ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้ว จะมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าในพื้นที่ตรวจสอบ
ซึ่งถ้าสินค้าไม่มีปัญหาคุณภาพก็จะถูกนำไปเก็บไว้ยังคลังสินค้าสำเร็จรูป รอการจัดส่งไปยังลูกค้าต่อไป ด้านที่ติดต่อกับซัพพลายเออร์ คือ เมื่อมีการคำนวณแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning-MRP) และทำการจัดลำดับการผลิต (Scheduling) แล้วจะมีการส่งคำสั่งซื้อไปยัง Supplier และคอยติดตามจนกระทั่ง Supplier ส่งสินค้าเข้าโรงงาน โรงงานการผลิต ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับ Supplier โดยดำเนินกิจกรรม SRM (Supplier Relationship Management) โดยเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและจัดการกับกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ Supplier มีความพร้อมในการเตรียมและจัดส่งวัตถุดิบได้ทันตามความต้องการของบริษัทได้ตลอดเวลา โดยมีการแบ่งปันข้อมูลของซัพพลายเออร์ร่วมกันดังนี้
- การออกแบบและวิศวกรรม
- การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
- ระบบจัดซื้อ
- โลจิสติกส์ในองค์กร และการวัดประเมินผล
- การคัดเลือกและจัดหาซัพพลายเออร์
ในขณะที่ซัพพลายเออร์ก็สามารถทราบถึงข้อมูลของบริษัทได้คือ
- ข้อมูลการจัดการคำสั่งลูกค้าแบบ Real Time
- การ Update ระดับสินค้าคงคลังทั้งในส่วนวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
- การพยากรณ์ยอดขาย
- การตั้งราคาและโปรแกรมการลดราคาสินค้า
ฉะนั้น การสร้างความร่วมมือกันระหว่างภายในและภายนอกองค์กร มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การจัดการโซ่อุปทานสามารถดำเนินการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาโซ่อุปทาน ต้องอาศัยข้อมูลซึ่งกันและกันและสามารถเชื่อมโยงกันให้เป็นเนื้อเดียวกันระหว่างองค์กร และด้วยสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น องค์กรก็ควรมีระบบการตัดสินใจที่ดี เพื่อให้ได้เปรียบกับคู่แข่งขันและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ ควรมีการจัดการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กันตลอดสายโซ่ เริ่มตั้งแต่ ลูกค้า ผู้ผลิต ตลอดจนถึงคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วนอันจะนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันต่อไป
การจัดการคลังสินค้าในโซ่อุปทาน
คลังสินค้า (Warehouses) เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีในโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุก ๆ โรงงานในประเทศไทยนั้นไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องของคลังสินค้าเท่าที่ควร การจัดการคลังสินค้านั้น มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงงานหลาย ๆ ด้าน
ดังนั้น ในโซ่อุปทานของสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าคงคลังในสายการผลิต จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำการพิจารณา คลังสินค้า (Warehouse) จึงเป็นพื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้า (Warehouse) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
> วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนต่าง ๆ
> สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่
คลังสินค้า (Warehouse) จึงเป็นกระบวนการรับสินค้า (Receiving) ระบบเก็บสินค้า (Put-away) กระบวนการแปลงหน่วย (Let-down) การจ่ายสินค้า (Picking) การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง
คลังสินค้ามีชื่อเรียกได้ต่าง ๆ กัน อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ คำว่าคลังสินค้าจึงเป็นคำที่มีความหมายรวม ๆ ส่วนจะเรียกว่าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของคลังสินค้าแต่ละประเภท คลังสินค้าที่รับสินค้าเข้ามาทำการคัดแยกแล้วกระจายออกไป เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และกระบวนการดังกล่าว เรียกว่า Cross Docking
ในขณะที่คลังสินค้าบางแห่งมีฟังก์ชันเพิ่มขึ้นมาคือ หลังรับสินค้าเข้ามาแล้ว ก็เก็บสินค้าไว้และทำหน้าที่จัดสรรสินค้าก่อนส่งมอบตามคำสั่งซื้อจึงมีขั้นตอนย่อยประกอบด้วย รับสินค้าเข้า จัดเก็บ จัดสินค้าตามใบสั่งซื้อ (Order Picking) อันเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาและกำลังคนมากที่สุด ตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง กล่าวคือ รับหน้าที่ในการจำหน่ายไว้ด้วย จึงเรียกว่าศูนย์จำหน่ายสินค้า การลดเวลาและขั้นตอนในศูนย์จำหน่ายสินค้าทำได้ด้วยการนำคอมพิวเตอร์ช่วยออกใบสั่งซื้อ ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงคลังสินค้าและประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสายการผลิต การจำหน่าย และการกระจายสินค้าที่ไม่มีคลังสินค้าเป็นของตัวเอง ไม่ต้องการสร้างคลังสินค้าเองอาจใช้บริการเช่าคลังสินค้าสาธารณะ และประเด็นเกี่ยวกับสถานที่ตั้งคลังสินค้า ควรตั้งในจุดที่ตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างลงตัว ในสินค้าคงคลังมีหลายประเภท Input ของคลังสินค้าจึงแตกต่างกันไป อาจมีจุดเริ่มต้นจากซัพพลายเออร์นำวัตถุดิบมาป้อนให้คลังสินค้า หรือฝ่ายพัสดุนำ MRO (Maintenance Repair and Operation Supply ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาและสนับสนุนการผลิต) มามอบให้ฝ่ายผลิต ผู้ผลิตสินค้านำสินค้าสำเร็จส่งเข้าคลังสินค้าและกระจายไปยังผู้บริโภค ฯลฯ วงจรดังกล่าวเป็น Spec ทั่วไปของสินค้าคงคลัง ความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทำให้ผู้ผลิตต้องวางแผนและคำนวณว่า จะจัดสรรปันส่วนการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อนำสินค้าคงคลังมาสร้างคุณค่าโดยการผลิตให้เป็นสินค้า
เมื่อพิจารณาถึงคลังสินค้าในกระบวนการรับสินค้า (Receiving) ระบบเก็บสินค้า (Put-away) กระบวนการแปลงหน่วย (Let-down) การจ่ายสินค้า (Picking) การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) ประเทศไทยนั้นมีคลังสินค้าซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. สินค้าสาธารณะ (Private Warehouse) คลังสินค้าสาธารณะ เป็นกิจการทางธุรกิจที่เป็นเอกเทศของตนเอง โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาสินค้า และรับทำการเก็บรักษาสินค้ารวมทั้งให้บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้านั้น การประกอบกิจการคลังสินค้าสาธารณะ เป็นการค้าขายประเภทที่ถือว่ามีผลกระทบต่อความปลอดภัยและความผาสุกของสาธารณะชน โดยยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
> คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน เป็นธุรกิจการค้าของภาคเอกชนที่จัดขึ้นในรูปของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนแล้วแต่กรณี กิจการสำคัญที่คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชนดำเนินงาน ได้แก่
1. รับฝากสินค้าโดยผู้ประกอบการคลังสินค้าได้รับเงินค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด
2. ให้ผู้ฝากกู้ยืมเงินโดยเอาสินค้าที่ฝากนั้นจำนำไว้เป็นประกันแก่ผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า โดยผู้ประกอบการคลังสินค้าได้รับดอกเบี้ย หรือประโยชน์อื่นใดเป็นค่าตอบแทน
3. ให้บริการด้านความเย็นในการเก็บรักษาสินค้า รับอบพืชลดความชื้น กะเทาะ คัดผสม หรือด้วยกรรมวิธีอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ของผู้ฝาก โดยผู้ประกอบกิจการคลังสินค้าได้รับค่าตอบแทน หรือประโยชน์อย่างอื่นอย่างใด
4. กระทำการใด ๆ ตามแบบวิธีเกี่ยวกับการศุลกากร การนำเข้า การส่งออก การขนส่งสินค้า และอาจจะจัดให้มีการประกันภัย ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องพึงกระทำตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้า เป็นต้น
> คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล องค์การของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจทางการค้า จะจัดตั้งขึ้นในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐพาณิชย์รูปอื่น จุดมุ่งหมายหรือนโยบายหลักในการประกอบกิจการขององค์การเหล่านี้ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ
> คลังสินค้าสาธารณะของสหกรณ์ สหกรณ์เป็นองค์การของเอกชนที่อยู่ภายใต้การควบคุมและโดยการสนับสนุนของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายสหกรณ์ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีเป้าหมายในการดำเนินกิจการร่วมกัน ช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ
2. คลังสินค้าเอกชน (Private Warehouse) เนื่องจากความสำคัญของคลังสินค้าในการดำเนินการประกอบกิจการค้าขายที่เกี่ยวกับสินค้าชนิดต่าง ๆ นั้น นับว่าเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ว่านั่นจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมประเทศใดก็ตาม
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการผลิต กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการผลิต กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการตลาด คลังสินค้าเป็นเครื่องมือในการกระจายสินค้าออกสู่ตลาดจากมือของผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ผู้ผลิตสินค้าใช้คลังสินค้าในการเก็บรักษาสินค้าสำเร็จรูปเป็นผลผลิตของตนในขั้นแรก ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมก็ตามและใช้คลังสินค้าที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ในการกระจายสินค้าของตนเองออกสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการกิจกรรมการบริการ การประกอบกิจการธุรกิจบริการทุกประเภท ทั้งในภาคธุรกิจเอกชน และองค์การของรัฐบาล รวมไปถึงสหกรณ์และหน่วยงานราชการของรัฐ จำเป็นต้องมีการสะสมเก็บรักษาพัสดุสำหรับการใช้ในกิจการนั้นอย่างเพียงพอ คลังสินค้าจำพวกคลังเก็บพัสดุมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือของกิจการบริการทุกประเภท ทำหน้าที่เก็บรักษาพัสดุสะสมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจการบริการนั้น ๆ
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการวงการธุรกิจ คลังสินค้าสาธารณะเป็นแหล่งให้เครดิตแก่นักธุรกิจที่สำคัญแหล่งหนึ่งเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินประเภทอื่น เช่น ธนาคาร โดยวิธีให้ผู้ฝากสินค้าไว้ในคลังสินค้านั้นกู้ยืมเงิน โดยใช้สินค้าที่ฝากไว้นั้นจำนำเป็นประกัน และได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการนโยบายทางเศรษฐกิจ ความสำคัญในเรื่องนี้อาจเป็นคลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล คลังสินค้าส่วนบุคคลขององค์การรัฐบาล หรือคลังสินค้าของสหกรณ์ก็ได้ ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตร และสินค้าอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลอาจใช้คลังสินค้าเหล่านี้ในการสะสมเก็บรักษาสินค้าที่รัฐบาลเข้าไปรับซื้อเพื่อแทรกแซงตลาด
ที่มา : thailandindustry.com
ความร่วมมือภายในองค์กรและนอกองค์กรในการจัดการโซ่อุปทาน
ในการเชื่อมโยงการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) คือ ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งหมายความรวมไปถึงความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความร่วมมือภายในองค์กรนั้น ได้แก่ การเชื่อมโยงของการไหลของวัสดุข้อมูล และข้อมูลทางการเงินระหว่างฝ่าย
ในการเชื่อมโยงการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) นั่นคือ ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งหมายความรวมไปถึงความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความร่วมมือภายในองค์กรนั้น ได้แก่ การเชื่อมโยงของการไหลของวัสดุข้อมูล และข้อมูลทางการเงินระหว่างฝ่าย ความล่าช้าและความไม่แน่นอนลดน้อยลง การไหลของผลิตภัณฑ์ในโซ่อุปทานก็เป็นไปได้รวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นการที่จะบริหารโซ่อุปทาน และกิจกรรมโลจิสติกส์ของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น ควรเริ่มจัดการโซ่อุปทานจากหน่วยย่อยในองค์กรตั้งแต่ระดับเล็กสุด ซึ่งได้แก่
- โซ่อุปทานในแผนก กล่าวคือ ในแผนกเดียวกันในองค์กรนั้นมีการเชื่อมโยงหรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันหรือไม่
- โซ่อุปทานระหว่างแผนก กล่าวคือ ระหว่างฝ่ายนั้นมีการแบ่งปันข้อมูลที่ควรทราบถึงกันหรือไม่
- โซ่อุปทานระหว่างองค์กร เป็นโซ่อุปทานที่มีการจับมือกันอย่างยั่งยืนระหว่างซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้าและลูกค้าเป็นความเชื่อมต่อแบบเนื้อเดียวของกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งภายในและระหว่างองค์กร (Synchronized Activities)

สำหรับ External Supply Chain จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
> Upstream เป็นองค์ประกอบแรกสุดของห่วงโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ รวมถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ จนเป็นวัตถุดิบในการผลิตและเข้าสู่กระบวนการผลิตขององค์กร
> Downstream เป็นองค์ประกอบส่วนท้ายของห่วงโซ่ จะเริ่มต้นที่ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ผู้ขายตรง จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย
ฉะนั้น เราจะพบว่า Internal Supply Chain เป็นส่วนที่เริ่มตั้งแต่หลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้ว ทางฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดจะส่งข้อมูลให้ฝ่ายวางแผนการผลิตหลัก (Master Production Scheduling-MPS) และจัดประชุมการผลิตสินค้าใหม่ (New Products) เพื่อเตรียมแผนการผลิตว่าจะผลิต “อะไร” “เมื่อไร” “เท่าไร” จากนั้นทำการแตกโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Bill of Materials-BOM) เพื่อคำนวณแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning-MRP) และพิจารณากำลังการผลิตเพื่อออกแบบแผนกำลังการผลิต (Capacity Requirement Planning-CRP) เมื่อพร้อมที่จะผลิตแล้วจึงทำการจัดลำดับการผลิต (Scheduling) เพื่อเป็นการกำหนดว่าจะลงสายการผลิตหรือเครื่องจักรใด “เมื่อไร” “เท่าไร”
หลังจากนั้น ฝ่ายวางแผนจะแจ้งความต้องการวัตถุดิบไปยังแผนกจัดซื้อ เพื่อทำการสั่งซื้อวัตถุดิบ (Purchase Order) โดยมีการตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบคงคลัง รวมถึง Lead Time ของ Supplier เมื่อ Supplier มาส่งวัตถุดิบ ทางคลังสินค้าก็จะทำการรับวัตถุดิบเข้าคลังสินค้า โดยมีการ Key ข้อมูลเข้าในระบบ Express เป็นระบบ IT ที่เชื่อมโยงภายในองค์กร เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบข้อมูล ในระหว่างการผลิตจะมีการควบคุมและตรวจสอบสถานะของการผลิต พร้อมทั้งมีการแจ้งปัญหาด้านการผลิต หรือการขาดแคลนวัตถุดิบไปยังฝ่ายวางแผนการผลิต ตลอดจนสถานะสินค้าสำเร็จรูปที่มีการผลิตเสร็จแล้ว หลังจากที่ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้ว จะมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าในพื้นที่ตรวจสอบ
ซึ่งถ้าสินค้าไม่มีปัญหาคุณภาพก็จะถูกนำไปเก็บไว้ยังคลังสินค้าสำเร็จรูป รอการจัดส่งไปยังลูกค้าต่อไป ด้านที่ติดต่อกับซัพพลายเออร์ คือ เมื่อมีการคำนวณแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning-MRP) และทำการจัดลำดับการผลิต (Scheduling) แล้วจะมีการส่งคำสั่งซื้อไปยัง Supplier และคอยติดตามจนกระทั่ง Supplier ส่งสินค้าเข้าโรงงาน โรงงานการผลิต ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับ Supplier โดยดำเนินกิจกรรม SRM (Supplier Relationship Management) โดยเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและจัดการกับกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ Supplier มีความพร้อมในการเตรียมและจัดส่งวัตถุดิบได้ทันตามความต้องการของบริษัทได้ตลอดเวลา โดยมีการแบ่งปันข้อมูลของซัพพลายเออร์ร่วมกันดังนี้
- การออกแบบและวิศวกรรม
- การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
- ระบบจัดซื้อ
- โลจิสติกส์ในองค์กร และการวัดประเมินผล
- การคัดเลือกและจัดหาซัพพลายเออร์
ในขณะที่ซัพพลายเออร์ก็สามารถทราบถึงข้อมูลของบริษัทได้คือ
- ข้อมูลการจัดการคำสั่งลูกค้าแบบ Real Time
- การ Update ระดับสินค้าคงคลังทั้งในส่วนวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
- การพยากรณ์ยอดขาย
- การตั้งราคาและโปรแกรมการลดราคาสินค้า
ฉะนั้น การสร้างความร่วมมือกันระหว่างภายในและภายนอกองค์กร มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การจัดการโซ่อุปทานสามารถดำเนินการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาโซ่อุปทาน ต้องอาศัยข้อมูลซึ่งกันและกันและสามารถเชื่อมโยงกันให้เป็นเนื้อเดียวกันระหว่างองค์กร และด้วยสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น องค์กรก็ควรมีระบบการตัดสินใจที่ดี เพื่อให้ได้เปรียบกับคู่แข่งขันและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ ควรมีการจัดการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กันตลอดสายโซ่ เริ่มตั้งแต่ ลูกค้า ผู้ผลิต ตลอดจนถึงคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วนอันจะนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันต่อไป
การจัดการคลังสินค้าในโซ่อุปทาน
คลังสินค้า (Warehouses) เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีในโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุก ๆ โรงงานในประเทศไทยนั้นไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องของคลังสินค้าเท่าที่ควร การจัดการคลังสินค้านั้น มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงงานหลาย ๆ ด้าน
ดังนั้น ในโซ่อุปทานของสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าคงคลังในสายการผลิต จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำการพิจารณา คลังสินค้า (Warehouse) จึงเป็นพื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้า (Warehouse) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
> วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนต่าง ๆ
> สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่
คลังสินค้า (Warehouse) จึงเป็นกระบวนการรับสินค้า (Receiving) ระบบเก็บสินค้า (Put-away) กระบวนการแปลงหน่วย (Let-down) การจ่ายสินค้า (Picking) การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง
คลังสินค้ามีชื่อเรียกได้ต่าง ๆ กัน อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ คำว่าคลังสินค้าจึงเป็นคำที่มีความหมายรวม ๆ ส่วนจะเรียกว่าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของคลังสินค้าแต่ละประเภท คลังสินค้าที่รับสินค้าเข้ามาทำการคัดแยกแล้วกระจายออกไป เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และกระบวนการดังกล่าว เรียกว่า Cross Docking
ในขณะที่คลังสินค้าบางแห่งมีฟังก์ชันเพิ่มขึ้นมาคือ หลังรับสินค้าเข้ามาแล้ว ก็เก็บสินค้าไว้และทำหน้าที่จัดสรรสินค้าก่อนส่งมอบตามคำสั่งซื้อจึงมีขั้นตอนย่อยประกอบด้วย รับสินค้าเข้า จัดเก็บ จัดสินค้าตามใบสั่งซื้อ (Order Picking) อันเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาและกำลังคนมากที่สุด ตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง กล่าวคือ รับหน้าที่ในการจำหน่ายไว้ด้วย จึงเรียกว่าศูนย์จำหน่ายสินค้า การลดเวลาและขั้นตอนในศูนย์จำหน่ายสินค้าทำได้ด้วยการนำคอมพิวเตอร์ช่วยออกใบสั่งซื้อ ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงคลังสินค้าและประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสายการผลิต การจำหน่าย และการกระจายสินค้าที่ไม่มีคลังสินค้าเป็นของตัวเอง ไม่ต้องการสร้างคลังสินค้าเองอาจใช้บริการเช่าคลังสินค้าสาธารณะ และประเด็นเกี่ยวกับสถานที่ตั้งคลังสินค้า ควรตั้งในจุดที่ตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างลงตัว ในสินค้าคงคลังมีหลายประเภท Input ของคลังสินค้าจึงแตกต่างกันไป อาจมีจุดเริ่มต้นจากซัพพลายเออร์นำวัตถุดิบมาป้อนให้คลังสินค้า หรือฝ่ายพัสดุนำ MRO (Maintenance Repair and Operation Supply ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาและสนับสนุนการผลิต) มามอบให้ฝ่ายผลิต ผู้ผลิตสินค้านำสินค้าสำเร็จส่งเข้าคลังสินค้าและกระจายไปยังผู้บริโภค ฯลฯ วงจรดังกล่าวเป็น Spec ทั่วไปของสินค้าคงคลัง ความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทำให้ผู้ผลิตต้องวางแผนและคำนวณว่า จะจัดสรรปันส่วนการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อนำสินค้าคงคลังมาสร้างคุณค่าโดยการผลิตให้เป็นสินค้า
เมื่อพิจารณาถึงคลังสินค้าในกระบวนการรับสินค้า (Receiving) ระบบเก็บสินค้า (Put-away) กระบวนการแปลงหน่วย (Let-down) การจ่ายสินค้า (Picking) การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) ประเทศไทยนั้นมีคลังสินค้าซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. สินค้าสาธารณะ (Private Warehouse) คลังสินค้าสาธารณะ เป็นกิจการทางธุรกิจที่เป็นเอกเทศของตนเอง โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาสินค้า และรับทำการเก็บรักษาสินค้ารวมทั้งให้บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้านั้น การประกอบกิจการคลังสินค้าสาธารณะ เป็นการค้าขายประเภทที่ถือว่ามีผลกระทบต่อความปลอดภัยและความผาสุกของสาธารณะชน โดยยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
> คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน เป็นธุรกิจการค้าของภาคเอกชนที่จัดขึ้นในรูปของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนแล้วแต่กรณี กิจการสำคัญที่คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชนดำเนินงาน ได้แก่
1. รับฝากสินค้าโดยผู้ประกอบการคลังสินค้าได้รับเงินค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด
2. ให้ผู้ฝากกู้ยืมเงินโดยเอาสินค้าที่ฝากนั้นจำนำไว้เป็นประกันแก่ผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า โดยผู้ประกอบการคลังสินค้าได้รับดอกเบี้ย หรือประโยชน์อื่นใดเป็นค่าตอบแทน
3. ให้บริการด้านความเย็นในการเก็บรักษาสินค้า รับอบพืชลดความชื้น กะเทาะ คัดผสม หรือด้วยกรรมวิธีอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ของผู้ฝาก โดยผู้ประกอบกิจการคลังสินค้าได้รับค่าตอบแทน หรือประโยชน์อย่างอื่นอย่างใด
4. กระทำการใด ๆ ตามแบบวิธีเกี่ยวกับการศุลกากร การนำเข้า การส่งออก การขนส่งสินค้า และอาจจะจัดให้มีการประกันภัย ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องพึงกระทำตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้า เป็นต้น
> คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล องค์การของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจทางการค้า จะจัดตั้งขึ้นในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐพาณิชย์รูปอื่น จุดมุ่งหมายหรือนโยบายหลักในการประกอบกิจการขององค์การเหล่านี้ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ
> คลังสินค้าสาธารณะของสหกรณ์ สหกรณ์เป็นองค์การของเอกชนที่อยู่ภายใต้การควบคุมและโดยการสนับสนุนของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายสหกรณ์ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีเป้าหมายในการดำเนินกิจการร่วมกัน ช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ
2. คลังสินค้าเอกชน (Private Warehouse) เนื่องจากความสำคัญของคลังสินค้าในการดำเนินการประกอบกิจการค้าขายที่เกี่ยวกับสินค้าชนิดต่าง ๆ นั้น นับว่าเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ว่านั่นจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมประเทศใดก็ตาม
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการผลิต กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการผลิต กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการตลาด คลังสินค้าเป็นเครื่องมือในการกระจายสินค้าออกสู่ตลาดจากมือของผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ผู้ผลิตสินค้าใช้คลังสินค้าในการเก็บรักษาสินค้าสำเร็จรูปเป็นผลผลิตของตนในขั้นแรก ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมก็ตามและใช้คลังสินค้าที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ในการกระจายสินค้าของตนเองออกสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการกิจกรรมการบริการ การประกอบกิจการธุรกิจบริการทุกประเภท ทั้งในภาคธุรกิจเอกชน และองค์การของรัฐบาล รวมไปถึงสหกรณ์และหน่วยงานราชการของรัฐ จำเป็นต้องมีการสะสมเก็บรักษาพัสดุสำหรับการใช้ในกิจการนั้นอย่างเพียงพอ คลังสินค้าจำพวกคลังเก็บพัสดุมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือของกิจการบริการทุกประเภท ทำหน้าที่เก็บรักษาพัสดุสะสมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจการบริการนั้น ๆ
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการวงการธุรกิจ คลังสินค้าสาธารณะเป็นแหล่งให้เครดิตแก่นักธุรกิจที่สำคัญแหล่งหนึ่งเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินประเภทอื่น เช่น ธนาคาร โดยวิธีให้ผู้ฝากสินค้าไว้ในคลังสินค้านั้นกู้ยืมเงิน โดยใช้สินค้าที่ฝากไว้นั้นจำนำเป็นประกัน และได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการนโยบายทางเศรษฐกิจ ความสำคัญในเรื่องนี้อาจเป็นคลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล คลังสินค้าส่วนบุคคลขององค์การรัฐบาล หรือคลังสินค้าของสหกรณ์ก็ได้ ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตร และสินค้าอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลอาจใช้คลังสินค้าเหล่านี้ในการสะสมเก็บรักษาสินค้าที่รัฐบาลเข้าไปรับซื้อเพื่อแทรกแซงตลาด
ที่มา : thailandindustry.com