หน้า 1 จากทั้งหมด 1

กฎหมายทั่วไปที่ควรรู้ของ SMEs

โพสต์แล้ว: พุธ 09 ม.ค. 2013 3:21 pm
โดย Yamachita
ในบริษัทจำกัดนั้น ผู้มีอำนาจดำเนินกิจการแทนบริษัท คือ คณะกรรมการ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลการจัดการของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่ประชุมผู้ถือหุ้นย่อมมีอำนาจสูงสุดในบริษัทจำกัด การประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดมี 2 ประเภท คือ
1. การประชุมสามัญ
2. การประชุมวิสามัญ
การประชุมสามัญ คือ การประชุมประจำปีของบริษัทจำกัด ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยสาระที่จะต้องประชุมคือพิจารณาการดำเนินกิจการของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่เข้าแทนกรรมการที่ออกตามวาระ แต่งตั้งผู้สอบบัญชีคนใหม่และอนุมัติงบดุลของบริษัท ส่วนการประชุมวิสามัญนั้น จะมีขึ้นเมื่อใดและจะประชุมเมื่อใดเรื่องใดก็ได้สุดแต่กรรมการจะเห็นสมควร
ถ้าไม่มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายให้นับองค์ประชุมผู้ถือหุ้น ต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของทุนบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีผู้ถือหุ้นเข้าประชุมไม่น้อยกว่า 2 คน มิฉะนั้น จะไม่ถือเป็นการประชุม

ในการประชุมผู้ถือหุ้น ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมมีอำนาจชี้ขาดอีก 1 เสียง แต่ในกรณีสำคัญบางเรื่อง กฎหมายบังคับให้มติของที่ประชุมต้องเป็นมติพิเศษเท่านั้น เช่นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ การเพิ่มทุนและการลดทุนของบริษัท การควบคุมบริษัทและการเลิกบริษัท

มติพิเศษ หมายความว่าเป็นมติที่ได้จากการประชุมผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง ติดต่อกัน โดยการประชุมครั้งแรกต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของเสียงทั้งหมด เมื่อได้มีการประชุมครั้งแรกแล้ว จะต้องมีการประชุมครั้งที่ 2 ห่างจากการประชุมครั้งแรกไม่น้อยกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 6 สัปดาห์ และในการประชุมครั้งที่ 2 ต้องได้คะแนนเสียงในการประชุมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของคะแนนเสียงทั้งหมด โดยต้องมีมติยืนตามการประชุมครั้งแรก
การบอกกล่าวนัดประชุมต้องแจ้งผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ การนับจำนวน 7 วัน มิให้นับวันแรกที่บอกกล่าวกับวันประชุม เช่น แจ้งนัดวันประชุมวันที่ 1 จะประชุมได้ต้องเป็นวันที่ 9

เครื่องหมายการค้า (trademark)
เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า นั้น ๆ เป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือผู้ผลิตคนใด (จะต้องจดทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์)

เครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า หมายถึง ลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบ และเข้าใจได้ว่า สินค้าที่แตกต่างกัน แล้วยังจะบ่งถึงแหล่งกำเนิดของสินค้าและความเป็นเจ้าของอีกด้วย

ลิขสิทธิ์ (copyright)
สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น (จะต้องจดทะเบียนต่อ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์)

สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่กระทำการใด ๆ ต่องานอันมีสิทธิ์ของตนดังต่อไปนี้ มีสิทธิ์ในการ กระทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่ายให้เช่า คัดลอก เลียนแบบทำสำเนา การทำให้ปรากฎต่อสาธารณชน หรืออนุญาต ให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ของตน โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้ นอกจากสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับ ความคุ้มครอง ในรูปของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว กฎหมายยังคุ้มครองสิทธิอื่น ๆ ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมด้วย โดยกำหนดว่าผู้สร้างสรรค์มีสิทธิ์ที่จะแสดงตนว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ และห้ามผู้อื่นมิให้กระทำการบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือกระทำการให้เกิดการความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์

อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
> งานทั่วๆ ไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์นั้นขึ้น
> งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
> งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่ง มีอายุ 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
> งานศิลปะประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
> กรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์ มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีศิลปประยุกต์ ให้มีลิขสิทธิ์ต่อไป.อีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก
> ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ
> งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใดๆ สามารถใช้งานนั้น ๆ โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

สิทธิบัตร (patent)
> หนังสือสำคัญที่ออกให้ เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบตามกฎหมายที่กำหนด โดยจดทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
> การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตร
> ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือเป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคย มีใช้แพร่หลาย มาก่อนในประเทศ หรือ ไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์มาก่อนทั้งใน และนอกประเทศ หรือยังไม่เคยได้รับสิทธิบัตรมาก่อน
> ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นประดิษฐ์สูงขึ้น คือ มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคหรือ ไม่เป็นการประดิษฐ์ที่อาจทำโดยง่ายต่อผู้มีความรู้ในระดับธรรมดา
> ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรม

อายุสิทธิบัตร

> สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร
> สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร
> การดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า, ลิขสิทธิ์, สิทธิบัตรและคดีที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ จะต้องดำเนินคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
> อายุความในการฟ้องคดีเช็คนั้น หากเป็นคดีแพ่งผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องภายใน1ปี นับแต่วันที่ ๆ ลงในเช็คนั้น ไม่ว่าจะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินเมื่อใดก็ตาม แต่หากเป็นการฟ้องคดีอาญา ผู้เสียหาย (ผู้ทรงเช็ค) จะต้องฟ้องคดีหรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ธนาคารฯ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ไม่ใช่วันที่ ๆ ลง ในเช็คเพราะอาจจะเป็นคนละวันกัน เนื่องจากความผิดตามเช็ค เป็นความผิดอันยอมความได้
> เช็คที่ผู้ทรงไม่ได้ยื่นต่อธนาคารฯ ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ที่ลงในเช็ค ธนาคารฯ จะไม่จ่ายเงินตามเช็คให้ก็ได้
> บุคคลที่ต้องรับผิดในความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเช็ค คือ ผู้ที่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเท่านั้น บุคคลที่ลงชื่อในฐานะผู้สลักหลัง หรือผู้อาวัล หรือผู้รับรอง ไม่มีความผิดทางอาญา แต่ในทางแพ่ง บุคคลทุกคนที่ลงลายมือชื่อในเช็คจะต้องร่วมกันรับผิดในการใช้เงินตามเช็คนั้น ให้แก่ผู้ทรงตามสิทธิและฐานะของผู้ที่ลงลายมือชื่อนั้น
> ความผิดทางอาญาสำหรับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น มีโทษอย่างสูงสุด จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
> มูลค่าหนี้ที่จะฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คได้ ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับกันได้ ตามกฎหมายประกอบกับ ผู้สั่งจ่ายเช็คได้สั่งจ่ายเช็ค โดยมีเจตนากระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกี่ยวกับกับการใช้เช็ค

ประกอบด้วย
> การแลกเช็ค (หมายถึงเอาเช็คมาแลกเงินสด) หรือการจ่ายเช็คชำระหนี้เงินกู้ซึ่งไม่มีหลักฐานการกู้ยืม เป็นหนังสือ ไม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้ เพราะเป็นหนี้ซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือไม่สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมาย
> ความผิดเกี่ยวกับเช็คนั้น ผู้ต้องหาสามารถประกันตัวต่อพนักงานสอบสวนได้ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจที่จะสั่งไม่ให้ประกัน ความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเช็คนั้นจะ ระงับหรือเลิกกันเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คได้ชำระเงินตามเช็คให้กับผู้ทรงเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งสามารถกระทำได้ตลอดเวลาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด แม้ว่าโจทก์จะไม่ยินยอมถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ทางกฎหมายถือว่าคดีอาญาได้ระงับลง
> เช็คที่ออกให้เพื่อประกันการชำระหนี้ไม่สามารถนำไปฟ้องคดีอาญาได้ เช็คที่จะนำไปฟ้องคดีอาญา ต้องออกให้เพื่อการชำระหนี้เท่านั้น
> เช็คที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันที่ด้วยตนเอง ไม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้ ถึงแม้ว่าผู้ทรงจะได้เป็นผู้ลงวันที่เอง ตามวันที่ที่ถูกต้องก็ตาม เพราะถือว่าวันที่ เป็นองค์ประกอบความผิดตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมิได้เป็นคนกระทำขึ้น
> กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท แม้ว่าจะออกเช็คในนามบริษัทก็ตาม ก็ถือว่ามีความผิดทางอาญาฐานร่วมกระทำความผิดด้วย
> การตกเป็นบุคคลล้มละลายนั้น ผู้ที่ถูกฟ้องล้มละลาย หากเป็นบุคคลธรรดาต้องมีหนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หากเป็นนิติบุคคลต้องมีหนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท มิฉะนั้นเจ้าหนี้จะฟ้องล้มละลายไม่ได้
> บุคคลที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจะหลุดพ้นจากการล้มละลาย เมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา ไม่ว่าบุคคลนั้นจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ก็ตาม
> ความผิดทางอาญา หมายถึงกรณีผู้กระทำความผิดต้องชดใช้ค่าเสียหาย หรือเงินหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับผู้เสียหาย แต่ไม่ต้องติดคุกติดตะราง
> เมื่อบุคคลใดตาย ทรัพย์สินของบุคคลนั้น ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมหรือ ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งเรียกว่าทรัพย์มรดก ดังนั้นคำว่า “มรดก” จะใช้สำหรับการรับ ทรัพย์สินของ ผู้ตายเท่านั้น
> หากผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินแก่บุคคลใด พินัยกรรมย่อมตัดบุคคลอื่น ทั้งหมดที่เป็นทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะต้องเป็นไปตามพินัยกรรมเท่านั้น
> พินัยกรรมอาจยกทรัพย์สินให้กับบุคคลใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุตร – ภรรยา
> พินัยกรรมนั้น ต้องทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ
> พินัยกรรมที่ผู้ตายเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมีพยานก็ได้ แต่ต้องลงชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ หากเป็นพินัยกรรมที่ไม่ได้เขียนเอง เช่น ใช้พิมพ์ดีด จะต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมนั้น

บุคคลผู้เป็นพยานในพินัยกรรม จะถูกกำหนดห้ามมิให้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรม
> การจะเป็นพินัยกรรมได้ จะต้องมีข้อความกำหนดการตกทอดของทรัพย์สินของผู้ตาย ว่าจะตกได้แก่บุคคลใด เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย หากมีข้อมความเพียงว่า “ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินนี้ ให้แก่บุคคลนั้น บุคคลนี้” โดยไม่มีข้อความว่า “เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตาย” ไม่เป็นพินัยกรรม จะเป็นเพียงหนังสือแสดงเจตนา ว่าจะให้ซึ่งไม่มีผลตามกฎหมาย

ทายาท โดยธรรม มี 6 ลำดับตามกฎหมาย ทายาทชั้นที่ใกล้ชิดที่สุด คือ บุตร หากผู้ตายมีบุตร ทายาทลำดับอื่นจะไม่ได้รับมรดกเลย ส่วนผู้ที่เป็นบุตรจะได้เท่าๆ กัน พ่อแม่ของผู้ตายถ้ายังมีชีวิตอยู่จะมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนเป็นบุตรด้วย โดยบิดามารดาแต่ละคนจะได้รับเท่ากับบุตรแต่ละคนภรรยายผู้ตายจะได้ส่วนแบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสมาก่อนกึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่ง ที่เป็นของผู้ตายเท่านั้น จึงเป็นมรดกของผู้ตาย หากผู้ตายมีบุตร ภรรยาจะได้รับมรดกเท่ากับ บุตรหนึ่งคนหากผู้ใดไม่ประสงค์จะให้ทายาทของตนเข้ารับมรดกสามารถกระทำได้ โดยการตัดมิให้รับมรดกการตัดมรดกจะทำได้โดยผู้ที่ประสงค์จะตัดมรดก จดแจ้งความจำนงค์หรือความประสงค์นั้น ต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง โดยให้กระทำ ณ ที่ทำการเขตผู้ที่ทำการปิดบัง ซ่อนเร้น ทรัพย์มรดก หรือทายาท จะถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก

> เมื่อทายาทคนใดถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ทายาทของบุคคลที่ตายนั้นสามารถเข้ารับมรดกแทนที่ทายาทที่ตายนั้นได้ เช่น ลูกที่ตายก่อนพ่อลูกของลูกที่ตายนั้นสามารถเข้ารับมรดกแทนพ่อของตนซึ่งตายก่อนจากเจ้ามรดกได้
> การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น จะต้องยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยดูจากภูมิลำเนาของผู้ตายในขณะที่ตาย ไม่ใช่ว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ใด ก็ยื่น ณ ท้องที่นั้น และไม่ใช่ยื่นตามภูมิลำเนาของผู้ยื่นคำร้อง
> การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกต้องแสดงใบมรณะบัตรของผู้ตาย บัญชีทรัพย์มรดก บัญชีเครือญาติ พร้อมเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกต่อศาล
ผู้สามารถร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาท แต่จะเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก


ที่มา : thaifranchisecenter.com