ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินหักออกจากเงินได้ก่อนจ่ายให้แก่ผู้รับ โดยที่ผู้จ่ายเงินจะมีหลักฐานที่มีชื่อเรียกว่า "หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย" ให้แก่ผู้รับไว้เป็นหลักฐาน
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. บรรเทาภาระภาษี ทางรัฐต้องการเบาเทาภาระทางภาษีให้กับเราโดยการหักไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นปัญหาที่จะต้องชำระภาษีครั้งละมากๆ ในตอนสิ้นปี ในตอนนั้นเราอาจจะมีไม่พอที่จะชำระก็ได้ ซึ่งคล้ายการผ่อนชำระ แท้ที่ต้องชำระทั้งหมดเป็นก้อนใหญ่ตอนสิ้นปี
ให้ชำระเป็นแต่ละครั้งที่รับเงินแทน
2. ให้รัฐมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ ภาษีเป็นรายได้ของทางรัฐทางหนึ่ง เพื่อที่รัฐจะนำรายได้นี้ไปพัฒนาประเทศต่อไป
3. ป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี เนื่องจากรัฐมีข้อมูลที่จะตรวจสอบได้ ทางหนึ่งก็จากรายงานภาษีที่ผู้ประกอบจะต้องนำส่งทุกเดือน
เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย
1. ต้องเป็นการเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป คือ การจ่ายเงินได้พึงประเมิน จำนวนตามสัญญาหนึ่งๆ มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้น แม้การจ่ายนั้นจะแบ่งจ่ายครั้งหนึ่งไม่ถึง 1,000 บาท ก็ตาม โดยที่ 1,000 นั้น เป็นเงินได้ที่จ่ายที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)
2. การหัก ณ ที่จ่ายใช้เกณฑ์เงินสด คือจ่ายเงินวันใดก็หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายวันนั้น ถ้านอกเหนือจากการจ่ายเป็นเงินสด เช่นจ่ายเป็นเช็คหรือตั๋วเงิน ให้หัก ณ ที่จ่าย ตามวันที่บนเช็คหรือตั๋วเงิน แม้ว่าจะมีผู้มารับวันใดก็ตาม
3. การออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย หน้าที่ของผู้จ่ายเงิน จะต้องออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย มอบต้นฉบับให้ผู้รับเงิน สำเนาผู้จ่ายเงินเก็บไว้เป็นหลักฐาน (บันทึกบัญชี และทำรายงานเืพื่อยื่นภาษี)
4. การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย จะต้องนำส่ง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้นภายใน 7 วัน
นับตั้งแต่วันที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้แล้วหรือยัง (เช่นกรณี เช็ค ยังไม่มีคนมารับ)
วิธีคิดภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เมื่อมีการจ่ายเงินได้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ให้นำจำนวนเงินได้นั้นที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คูณกับอัตราภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
ยกเว้น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ซึ่งมีวิธีคำนวณแตกต่างกัน (ควรศึกษาเพิ่มเติม)
ตัวอย่างอัตราภาษี ตามเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 - 8 เช่น
ค่าบริการ 3 %
ค่าเช่า 5 %
ค่าขนส่ง 1 %
ค่าโฆษณา 2 %
ค่าจ้างทำของ 3 %
ที่มา : http://goldhimm.blogspot.com, http://www.pattanakit.net, http://tax.bugnoms.com, http://www.buncheeaudit.com