หลักเกณฑ์และความแตกต่างระหว่างใบเพิ่มหนี้ และ ใบลดหนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร 10 มิ.ย. 2014 10:39 am
หลักเกณฑ์และความแตกต่างระหว่างใบเพิ่มหนี้ และ ใบลดหนี้
ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) หรือใบลดหนี้ (Credit Note) เป็นเอกสารที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับการจัดทำใบกำกับภาษีซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้นครบถ้วนแล้ว แต่มีความผิดพลาดในปริมาณและมูลค่าของสินค้า
ที่ขายหรือบริการที่ให้ จึงต้องออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะมีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้หรือ ใบลดหนี้ได้ ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ประมวล-รัษฎากรกำหนดไว้ให้ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ได้เท่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจทั้งใน ด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน จึงขอนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ และความแตกต่างของทั้ง 2 กรณี ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยในตอนแรกมีการ นำเสนอดังนี้
1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร
2. องค์ประกอบการออกใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร
3. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับใบลดหนี้ตามประมวลรัษฎากร
4. องค์ประกอบการออกใบลดหนี้ตามประมวลรัษฎากร
5. กำหนดเวลาในการออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้
6. การออกใบแทนใบเพิ่มหนี้หรือใบแทน ใบลดหนี้
7. การออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้กรณีเลิกกิจการหรือถูกเพิกถอนทะเบียน
8. การนำใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ไปลงในรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย
9. ภาษีตามใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้มีผลต่อการคำนวณภาษีอย่างใด
10. ความรับผิดชอบของผู้ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
สาระสำคัญเบื้องต้นของใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้
1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับ ใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร1
1.1 หลักเกณฑ์ของผู้มีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการ และ
(2) นำภาษีขายไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 แล้ว
1.2 เงื่อนไขเกี่ยวกับใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร
(1) มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย เนื่องจาก
ก. สินค้าเกินกว่าจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน หรือ
ข. คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือ
ค. เหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(2) มีการเพิ่มราคาค่าบริการ เนื่องจาก
ก. ให้บริการเกินกว่าข้อกำหนดที่ตกลงกัน หรือ
ข. คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือ
ค. เหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(3) เป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน
1.3 ผลตามกฎหมาย
(1) ด้านผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือบริการ
ก. นำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นนั้นมารวมในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข. ถือเป็นภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา86/9
(2) ด้านผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อสินค้าหรือบริการ
ก. นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวมาหักออกในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) หรือใบลดหนี้ (Credit Note) เป็นเอกสารที่ต้องจัดทำในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับการจัดทำใบกำกับภาษีซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้นครบถ้วนแล้ว แต่มีความผิดพลาดในปริมาณและมูลค่าของสินค้า
ที่ขายหรือบริการที่ให้ จึงต้องออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะมีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้หรือ ใบลดหนี้ได้ ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ประมวล-รัษฎากรกำหนดไว้ให้ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ได้เท่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจทั้งใน ด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน จึงขอนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ และความแตกต่างของทั้ง 2 กรณี ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยในตอนแรกมีการ นำเสนอดังนี้
1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร
2. องค์ประกอบการออกใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร
3. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับใบลดหนี้ตามประมวลรัษฎากร
4. องค์ประกอบการออกใบลดหนี้ตามประมวลรัษฎากร
5. กำหนดเวลาในการออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้
6. การออกใบแทนใบเพิ่มหนี้หรือใบแทน ใบลดหนี้
7. การออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้กรณีเลิกกิจการหรือถูกเพิกถอนทะเบียน
8. การนำใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ไปลงในรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย
9. ภาษีตามใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้มีผลต่อการคำนวณภาษีอย่างใด
10. ความรับผิดชอบของผู้ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
สาระสำคัญเบื้องต้นของใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้
1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับ ใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร1
1.1 หลักเกณฑ์ของผู้มีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการ และ
(2) นำภาษีขายไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 แล้ว
1.2 เงื่อนไขเกี่ยวกับใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากร
(1) มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย เนื่องจาก
ก. สินค้าเกินกว่าจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน หรือ
ข. คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือ
ค. เหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(2) มีการเพิ่มราคาค่าบริการ เนื่องจาก
ก. ให้บริการเกินกว่าข้อกำหนดที่ตกลงกัน หรือ
ข. คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือ
ค. เหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(3) เป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน
1.3 ผลตามกฎหมาย
(1) ด้านผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือบริการ
ก. นำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นนั้นมารวมในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข. ถือเป็นภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบเพิ่มหนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา86/9
(2) ด้านผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อสินค้าหรือบริการ
ก. นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวมาหักออกในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม