ใบกำกับภาษี รูปแบบใหม่ บังคับใช้ 1 มกราคม ปี 2557
โพสต์แล้ว: อังคาร 18 มี.ค. 2014 5:28 pm
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39)
เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดี กรมสรรพากรกำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ดังต่อไปนี้
“ข้อ ๑ - ข้อ 7
“ข้อ ๘ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๒๐) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ดังนี้
(๑) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
(๒) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” และ “สาขาที่ ..” ตาม (๑) และ (๒) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
“ข้อ ๙ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๒๐) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ดังนี้
(๑) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
(๒) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความว่า “สาขาที่ ..” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อความคำว่า “สำนักใหญ่” และ “สาขาที่ ..” ตาม (๑) และ (๒) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๑๙๖) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป)
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535
โกวิทย์ โปษยานนท์
อธิบดีกรมสรรพากร
http://www.rd.go.th/
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39)
เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดี กรมสรรพากรกำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ดังต่อไปนี้
“ข้อ ๑ - ข้อ 7
“ข้อ ๘ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๒๐) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ดังนี้
(๑) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
(๒) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” และ “สาขาที่ ..” ตาม (๑) และ (๒) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
“ข้อ ๙ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๒๐) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ดังนี้
(๑) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
(๒) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความว่า “สาขาที่ ..” ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อความคำว่า “สำนักใหญ่” และ “สาขาที่ ..” ตาม (๑) และ (๒) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๑๙๖) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป)
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535
โกวิทย์ โปษยานนท์
อธิบดีกรมสรรพากร
http://www.rd.go.th/