ความรู้เกี่ยวกับเช็ค - เช็คจ่ายผู้ถือ [BEARER CHEQUE] - เช็คจ่ายตามคำสั่ง [ORDE
โพสต์แล้ว: ศุกร์ 14 มี.ค. 2014 12:16 pm
เช็ค คืออะไร
ตามประมาลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 21 หมวด 4 เช็ค มาตร 987 ได้ให้คำจำกัดความของเช็คไว้ว่า
“ อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน “
เช็คที่ธนาคารต่าง ๆ ในบ้านเราจัดพิมพ์ มีอยู่ 2 แบบ คือ
เช็คจ่ายผู้ถือ [BEARER CHEQUE]
เช็คจ่ายตามคำสั่ง [ORDER CHEQUE]
เช็คจ่ายผู้ถือ
เช็คจ่ายผู้ถือ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เช็คผู้ถือ” คือเช็คที่ทางธนาคารต่าง ๆ ออกแบบไว้เพื่อจุดประสงค์ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อผู้รับเงินหรือจะไม่ระบุชื่อผู้รับเงินก็ได้
ธนาคารในบ้านเราได้ออกแบบเช็คจ่ายผู้ถือ โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่ช่องว่างที่ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คกรอกเพื่อระบุผู้รับเงินดังนี้ “จ่าย…………………………………………………….หรือผู้ถือ[or bearer]"
เช็คแบบนี้ผู้สั่งจ่ายจะสั่งจ่ายโดยไม่กรอกอะไรลงในช่องว่าง “จ่าย…………………..หรือผู้ถือ “ เพียงแต่กรอก จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวหนังสือแล้วลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ก็ถือว่าเช็คสมบูรณ์แล้ว
หรือกรอกคำว่า “เงินสด” ลงในช่องว่าง “จ่าย………………………หรือผู้ถือ” ก็มีผลเช่นเดียวกัน
แม้จะกรอกซื่อ นามสกุล ผู้รับเงินลงไปในช่องว่าง “จ่าย……………………หรือผู้ถือ” โดยไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ก็ยังเป็นเช็คผู้ถืออยู่ กรณีนี้หมายความว่า จ่ายให้กับผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในเช็ค หรือ ผู้ถือก็ได้
การสั่งจ่าย “เช็คจ่ายผู้ถือ” โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเงินในช่องว่าง “ จ่าย…………………………หรือผู้ถือ “ และยังขีดฆ่าคำว่า ”หรือผู้ถือ “ ออก เช็คฉบับนี้จะกลายเป็นเช็ค “จ่ายตามคำสั่ง ” ทันที ถ้านำไปขึ้นเงินก็จะถูกปฏิเสธจากธนาคาร เพราะเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย(ไม่มีชื่อผู้รับเงิน)
หรือเขียนคำว่า “เงินสด” ลงในช่องว่าง “ จ่าย……………………..หรือผู้ถือ “ แล้วขีดฆ่าคำว่า “ หรือผู้ถือ “ ออก เช็คฉบับนี้ก็กลายเป็นเช็ค “ จ่ายตามคำสั่ง “ เช่นกัน แต่เป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามกฏหมาย เพราะว่า คำว่า “เงินสด” ไม่ใช่ชื่อผู้รับเงิน
ตามประมาลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 21 หมวด 4 เช็ค มาตร 987 ได้ให้คำจำกัดความของเช็คไว้ว่า
“ อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน “
เช็คที่ธนาคารต่าง ๆ ในบ้านเราจัดพิมพ์ มีอยู่ 2 แบบ คือ
เช็คจ่ายผู้ถือ [BEARER CHEQUE]
เช็คจ่ายตามคำสั่ง [ORDER CHEQUE]
เช็คจ่ายผู้ถือ
เช็คจ่ายผู้ถือ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เช็คผู้ถือ” คือเช็คที่ทางธนาคารต่าง ๆ ออกแบบไว้เพื่อจุดประสงค์ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อผู้รับเงินหรือจะไม่ระบุชื่อผู้รับเงินก็ได้
ธนาคารในบ้านเราได้ออกแบบเช็คจ่ายผู้ถือ โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่ช่องว่างที่ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คกรอกเพื่อระบุผู้รับเงินดังนี้ “จ่าย…………………………………………………….หรือผู้ถือ[or bearer]"
เช็คแบบนี้ผู้สั่งจ่ายจะสั่งจ่ายโดยไม่กรอกอะไรลงในช่องว่าง “จ่าย…………………..หรือผู้ถือ “ เพียงแต่กรอก จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวหนังสือแล้วลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ก็ถือว่าเช็คสมบูรณ์แล้ว
หรือกรอกคำว่า “เงินสด” ลงในช่องว่าง “จ่าย………………………หรือผู้ถือ” ก็มีผลเช่นเดียวกัน
แม้จะกรอกซื่อ นามสกุล ผู้รับเงินลงไปในช่องว่าง “จ่าย……………………หรือผู้ถือ” โดยไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ก็ยังเป็นเช็คผู้ถืออยู่ กรณีนี้หมายความว่า จ่ายให้กับผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในเช็ค หรือ ผู้ถือก็ได้
การสั่งจ่าย “เช็คจ่ายผู้ถือ” โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเงินในช่องว่าง “ จ่าย…………………………หรือผู้ถือ “ และยังขีดฆ่าคำว่า ”หรือผู้ถือ “ ออก เช็คฉบับนี้จะกลายเป็นเช็ค “จ่ายตามคำสั่ง ” ทันที ถ้านำไปขึ้นเงินก็จะถูกปฏิเสธจากธนาคาร เพราะเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย(ไม่มีชื่อผู้รับเงิน)
หรือเขียนคำว่า “เงินสด” ลงในช่องว่าง “ จ่าย……………………..หรือผู้ถือ “ แล้วขีดฆ่าคำว่า “ หรือผู้ถือ “ ออก เช็คฉบับนี้ก็กลายเป็นเช็ค “ จ่ายตามคำสั่ง “ เช่นกัน แต่เป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามกฏหมาย เพราะว่า คำว่า “เงินสด” ไม่ใช่ชื่อผู้รับเงิน