รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

การชำระทุนเพิ่ม ทุนที่บริษัทนํามาจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ การเงิน การบัญชี งานการผลิด โรงงาน ระบบคลังสินค้า กฏหมาย
odoo-openerp-คู่มือ
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 03 พ.ค. 2013 12:27 pm

การชำระทุนเพิ่ม ทุนที่บริษัทนํามาจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์

โพสต์โดย odoo-openerp-คู่มือ » เสาร์ 09 พ.ย. 2013 4:13 pm

ทุนจดทะเบียน หรือ ทุนเรือนหุ้น
คือ ทุนที่บริษัทนํามาจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนดขั้นต่ำเอาไว้ จํานวนหุ้นทั้งหมดที่จดทะเบียนอาจจะนํามาออกหุ้นเพียงบางส่วนก่อน ส่วนที่นํามาออกหุ้นนี้ เรียกว่า ทุนที่ออกหุ้นแล้ว (Issued Capital) แต่ในประเทศไทยกําหนดว่าหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจํากัดคิดจะจดทะเบียน ต้องนํามาออกหุ้นในคราวเดียวกัน แต่การเพิ่มทุนในอนาคตสามารถกระทําได้ แต่ต้องมีมติพิเศษจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น กล่าวคือตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราที่ 1220 บริษัทที่ต้องการเพิ่มทุนต้องได้มติพิเศษ โดยมติพิเศษต้องมีการประชุม 2 ครั้ง และมีกระบวนการ ดังนี้

• การประชุมครั้งแรก มติพิเศษต้องได้เสียงเห็นด้วยจากในที่ประชุม 3 ใน 4 ของ ผู้มาร่วมประชุม ถ้าคะแนนเสียงไม่ถึง มติการเพิ่มทุนก็ตกไป แต่ถ้าผ่านก็จะมีการประชุมครั้งที่ 2 ภายใน 14 วัน ถึง 6 สัปดาห์หลังจากประชุมครั้งแรก

• การประชุมครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการยืนยันมติจากที่ประชุมครั้งแรก โดยคะแนนเสียงในการเห็นด้วยต้องได้รับ 2 ใน 3 ของผู้มาร่วมประชุม ถ้าผ่านการเพิ่มทุนก็สามารถกระทําได้

การเรียกชำระค่าหุ้นคราวแรกจากผู้ถือหุ้นนั้นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้กรรมการเรียกเก็บค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1105 วรรคสอง ส่วนการเรียกชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่ากรรมการต้องเรียกชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือจากผู้ถือหุ้นเมื่อไร การเรียกชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือจากผู้ถือหุ้นนั้นกฎหมายกำหนดให้กรรมการทำหนังสือบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปให้ผู้ถือหุ้นทราบไม่น้อยกว่า 21 วันว่าให้เอาเงินมาชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือกับใคร ที่ไหน และเมื่อไหร่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1121 รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุนนั้น

เมื่อมีการชำระค่าหุ้นเพิ่มแล้ว ให้บริษัททำบอจ. 5 ฉบับใหม่ (เปลี่ยนจำนวนเงินค่าหุ้นที่เรียกชำระ) พร้อมกับทำหนังสือนำส่งบอจ. 5 ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเป็นหลักฐานให้ประชาชนทั่วไปรับทราบ (การนำส่งบอจ. 5 ไม่ต้องจัดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นใหญ่) แต่หากเป็นการนำส่งบอจ. 5 พร้อมงบการเงินก็ไม่ต้องมีหนังสือนำส่ง (ไม่ต้องรอนำส่งพร้อมงบการเงิน)


ขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.dbd.go.th/

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 89 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน