หน้า 1 จากทั้งหมด 1

นำ ERP มาใช้ให้ประสบความสำเร็จ

โพสต์แล้ว: จันทร์ 05 พ.ย. 2012 2:04 pm
โดย openerp_docman
รูปภาพ

1.เข้าใจแนวคิดของ ERP และนำ ERP มาใช้ - ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้ที่อยู่หน้างานทุกคนขององค์กรที่วางแผนจะนำ ERP มาใช้ จะต้องเข้าใจแนวคิด ERP โดยเฉพาะ
- เข้าใจแนวคิดของ ERP ว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ลูกค้า กระจายห่วงโซ่มูลค่ากิจกรรมสำหรับเสนอต่อลูกค้าในแนวนอน รวมระบบงานโดยไม่ยึดติดกับฝ่ายและโครงสร้างขององค์กรในปัจจุบัน
- เข้าใจว่าการนำ ERP มาใช้ ต้องสร้างและฝังรากแนวคิดของ ERP ในองค์กร เพื่อปฏิรูปองค์กร ต้องมีการพัฒนาระบบ ERP เป็นฐานข้อมูลรวมไว้ด้วย
- เข้าใจว่าการนำ ERP มาใช้ คือกิจกรรมปฏิรูปองค์กร ได้แก่ การปฏิรูปการทำงาน การปฏิรูปการบริหารจัดการ การปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีขององค์กร ปฏิรูประบบสารสนเทศขององค์กร คือ การนำ ERP มาใช้

2.หลีกลี่ยงการนำมาใช้เพียงบางส่วน - ควรหลีกเลี่ยงการนำมาใช้เพียงบางส่วน รูปแบบต่อไปนี้คือการนำ ERP มาใช้ที่ประสบความสำเร็จ
- การนำมาใช้แบบ big bang ตั้งแต่เริ่มต้น คือการกระจายห่วงโซ่มูลค่ากิจกรรมในแนวนอน มีเป้าหมายเป็นงานที่เกี่ยวข้อง
- การนำมาใช้แบบเฟส ขยายงานเป้าหมายออกไปทีละส่วนตามลำดับแบบ step by step แม้จะเป็นการนำมาใช้แบบเฟส น้อยที่สุดจะต้องรวมระบบงานที่เป็นเป้าหมายให้ได้ เช่น การนำมาใช้โดยรวมระบบงานของวัสดุและบัญชี โดยรวมระบบงานของการขยายขอบเขตของการผลิตและวัสดุบัญชี แม้จะใช้แนวทางแบบเฟส ก็ต้องวางแผนการขยายขอบเขตของการรวมระบบงานไว้ล่วงหน้า
- การนำมาใช้รวมกับระบบบัญชี เพื่อวัดผลของการจัดการ ผลการบริหารองค์กรแบบ real time ให้เกิดเป็นการบริหารจัดการในรูปแบบที่มองเห็นได้

3.ใช้วิธีการพัฒนา Business process model มีรายละเอียดคือ
3.1 กำหนดแนวทางการใช้ business process ควรจัดทำเป็น model ให้สามารถมองเห็นและเข้าใจได้ด้วยตา กำหนดให้ใช้ model เป็นภาษากลางพร้อมกำหนดการใช้เครื่องอมือออกแบบด้วย ในปัจจุบันผู้จำหน่าย ERP Package เริ่มใช้ business process model ในการนำเสนอที่ ERP package มีให้เลือกใช้ด้วย

รูปภาพ

จากนั้นพัฒนาด้วยขั้นตอนที่แสดงตามรูปด้านล่าง
รูปภาพ
3.2 ร่าง Business scenario โดยอ้างอิงกับ business scenario ที่ ERP package นำเสนอ ERP package บางตัวอาจมี business process model ของ business scenario ที่นำเสนอไว้ให้ ในขณะเดียวกัน ใช้เครื่องมือช่วยออกแบบ business process และจัดทำ business process model ที่ร่างไว้

3.3 Prototyping ตาม business scenario กำหนด parameter ของ ERP package ตาม business scenario ที่ร่างและทำ Prototyping

3.4 ทดสอบและประเมิน business scenario ใช้งาน ERP package ทดสอบและประเมินความเหมาะสม Business scenario ที่ร่าง

3.5 ออกแบบ Business process ใช้ผลทดสอบและประเมินทำการเพิ่ม แก้ไข business scenario และออกแบบ business process โดยอ้างอิงกับ business process ที่ ERP package นำเสนอ

3.6 prototyping ตาม business process ทำการออกแบบ parameter ของ ERP package ตาม business process ที่ออกแบบ และทำ prototyping

3.7 ทดสอบประเมินผล business process ใช้ ERP package ที่ทำ prototyping ทดสอบและประเมิน business process ที่ออกแบบ

3.8 ทำซ้ำ แก้ไขและเพิ่มเติม business scenario business process อีกครั้ง และประเมิน แล้วทำ Prototyping อีก เป็นการทำซ้ำของวงจรการออกแบบ ในการแก้ไขปรับปรุงนั้นจะต้องแก้ Business process model ไปด้วย มักได้ผลสรุปหลังทำซ้ำ 2-3 ครั้ง ในการทำซ้ำจะทำให้ parameter ของ ERP package ถูกกำหนดและนิ่ง