รู้จักระบบงานต่างๆ ของ ERP1.ระบบบัญชีและการเงิน (Financial Accounting) - เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบงานย่อยอื่นอย่างสมบูรณ์ สามารถบันทึกรายการบัญชีทันทีจากระบบงานย่อยต่างๆ จึงช่วยลดงานด้านการบันทึกรายการเดินบัญชีได้มาก นักบัญชีสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อวิเคราะห์ควบคุม และบริหารงานบัญชีได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังทำให้ข้อมูลทางบัญชีต่างๆได้รับการปรับให้ถูกต้องตามรายการที่เกิด ช่วยให้ผู้บริหารติดตามผลการดำเนินงานได้ตลอดเวลา ประกอบด้วยระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป ระบบบัญชีลูกหนี้ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ ระบบบัญชีศูนย์ต้นทุน /ศูนย์กำไร ระบบบริหารงบประมาณ
2. ระบบบัญชีทรัพย์สินถาวร (Asset Management) ระบบงานย่อยใช้รองรับการควบคุมสินทรัพย์ โดยระบบบัญชีทรัพย์สินถาวรจะเชื่อมกับระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป สำหรับทุกรายการบัญชีที่เกิดขึ้น
3. ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Administration) ช่วยสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร ระหว่างองค์กรกับพนักงาน ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักงานเข้ามาสร้าง เรียกดูและแก้ไขข้อมูลของตนเอง นอกจากนั้นยังช่วยในการบริหารจัดการวงจรของพนักงาน ตั้งแต่การคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน ค้นหาและเลือกพนักงานที่เหมาะสมกับงาน สร้างมาตรฐานในการวัดผลการปฏิบัติงาน สามารถกำหนดแผนการฝึกอบรมพนักงานให้เป็นไปตามความเหมาะสม
4. ระบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development) ช่วยในการพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถและศักยภาพของพนักงาน วางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพของทรัพยากรบุคคล
5. ระบบจัดซื่อจัดหาและบริหารสินค้าคงคลัง (Purchasing and Inventory Management) ระบบนี้ประกอบด้วยระบบย่อยเพื่อรองรับกระบวนการทำงานของผู้ใช้ ดังนี้
- ระบบจัดซื้อจัดหา (Purchasing) สนับสนุนงานด้านการจัดซื้อจากหน่วยงานต่างๆ การทำใบสั่งซื้อ การรับสินค้า และเรื่องใบแจ้งหนี้
- ระบบบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) รองรับการบันทึกรายละเอียดข้อมูลพัสดุ สถานะของพัสดุ สถานที่เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของพัสดุ ข้อมูลพัสดุคงเหลือ การรับพัสดุเข้าคลังการเบิกจ่ายพัสดุ การโอนย้ายพัสดุ การตรวจนับพัสดุประจำงวด ระบบจะบันทึกรายการทางบัญชีโดยอัตโนมัติที่ระบบบัญชีการเงิน
6. ระบบบริหารสินค้าคงคลัง (Warehourse Management) นำอินเทอร์เน็ตมาใช้ร่วมกับรูปแบบในการจัดซื้อจัดจ้างทางธุรกิจ รูปแบบการทำธุรกิจแบบนี้จะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้เกิดตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก สามารถพบกันได้ โดยมีต้นทุนทั้งเรื่องของเงินและเวลาน้อยที่สุด สามารถจัดการซื้อขายในรูปแบบ Dynamic Prices ทำให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์ในการหาผู้ขายที่สามารถให้ราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับองค์กร ทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เปิดประมูลผ่านอินเทอร์เน็ต จัดเก็บข้อมูลการเสนอราคา กำหนดเงื่อนไขการประมูล
[size=200]รู้จักระบบงานต่างๆ ของ [url=https://www.mindphp.com/บทความ/90-openerp/7264-what-is-erp.html]ERP[/url][/size]
1.ระบบบัญชีและการเงิน (Financial Accounting) - เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบงานย่อยอื่นอย่างสมบูรณ์ สามารถบันทึกรายการบัญชีทันทีจากระบบงานย่อยต่างๆ จึงช่วยลดงานด้านการบันทึกรายการเดินบัญชีได้มาก นักบัญชีสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อวิเคราะห์ควบคุม และบริหารงานบัญชีได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังทำให้ข้อมูลทางบัญชีต่างๆได้รับการปรับให้ถูกต้องตามรายการที่เกิด ช่วยให้ผู้บริหารติดตามผลการดำเนินงานได้ตลอดเวลา ประกอบด้วยระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป ระบบบัญชีลูกหนี้ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ ระบบบัญชีศูนย์ต้นทุน /ศูนย์กำไร ระบบบริหารงบประมาณ
2. ระบบบัญชีทรัพย์สินถาวร (Asset Management) ระบบงานย่อยใช้รองรับการควบคุมสินทรัพย์ โดยระบบบัญชีทรัพย์สินถาวรจะเชื่อมกับระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป สำหรับทุกรายการบัญชีที่เกิดขึ้น
3. ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Administration) ช่วยสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร ระหว่างองค์กรกับพนักงาน ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักงานเข้ามาสร้าง เรียกดูและแก้ไขข้อมูลของตนเอง นอกจากนั้นยังช่วยในการบริหารจัดการวงจรของพนักงาน ตั้งแต่การคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน ค้นหาและเลือกพนักงานที่เหมาะสมกับงาน สร้างมาตรฐานในการวัดผลการปฏิบัติงาน สามารถกำหนดแผนการฝึกอบรมพนักงานให้เป็นไปตามความเหมาะสม
4. ระบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development) ช่วยในการพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถและศักยภาพของพนักงาน วางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพของทรัพยากรบุคคล
5. ระบบจัดซื่อจัดหาและบริหารสินค้าคงคลัง (Purchasing and Inventory Management) ระบบนี้ประกอบด้วยระบบย่อยเพื่อรองรับกระบวนการทำงานของผู้ใช้ ดังนี้
- ระบบจัดซื้อจัดหา (Purchasing) สนับสนุนงานด้านการจัดซื้อจากหน่วยงานต่างๆ การทำใบสั่งซื้อ การรับสินค้า และเรื่องใบแจ้งหนี้
- ระบบบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) รองรับการบันทึกรายละเอียดข้อมูลพัสดุ สถานะของพัสดุ สถานที่เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของพัสดุ ข้อมูลพัสดุคงเหลือ การรับพัสดุเข้าคลังการเบิกจ่ายพัสดุ การโอนย้ายพัสดุ การตรวจนับพัสดุประจำงวด ระบบจะบันทึกรายการทางบัญชีโดยอัตโนมัติที่ระบบบัญชีการเงิน
6. ระบบบริหารสินค้าคงคลัง (Warehourse Management) นำอินเทอร์เน็ตมาใช้ร่วมกับรูปแบบในการจัดซื้อจัดจ้างทางธุรกิจ รูปแบบการทำธุรกิจแบบนี้จะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้เกิดตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก สามารถพบกันได้ โดยมีต้นทุนทั้งเรื่องของเงินและเวลาน้อยที่สุด สามารถจัดการซื้อขายในรูปแบบ Dynamic Prices ทำให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์ในการหาผู้ขายที่สามารถให้ราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับองค์กร ทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เปิดประมูลผ่านอินเทอร์เน็ต จัดเก็บข้อมูลการเสนอราคา กำหนดเงื่อนไขการประมูล