ผู้ประกอบการติง ก.พาณิชย์ เตรียมประชาพิจารณ์ร่าง พรบ.การประกอบธุรกิจการค้าปลีกในประเทศ ควรศึกษาอย่างรอบคอบ เพราะกระทบการจ้างงานหลายแสนคน และธุรกิจเอสเอ็มอีนับหมื่นราย...
ติงรัฐบาลปลุกผี คุมค้าปลีก กระทบการลงทุน.jpg
เมื่อ วันที่ 6 ก.ย. นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอกชัยดีสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์จะจัดทำประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 2 เดือนนี้ว่า ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศ ยินดีและพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ของรัฐอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เรื่องของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งนั้น เป็นเรื่องที่นำเสนอมาหลายครั้งแล้ว แต่ยังมีข้อถกเถียงกันในเนื้อหาและเป้าหมายของกฎหมายดังกล่าวอยู่ ซึ่งผู้ประกอบการเองเคยพูดหลายครั้งว่า การออกกฎหมายใดๆ นั้นควรศึกษาปัญหาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกค้าส่งที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานหลายแสนคน และธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) หลายหมื่นราย เป็นภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนของจีดีพี (GDP) สูงถึง 20% ภาครัฐจึงควรมีผลงานวิจัยหรือผลการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อถือได้ มากกว่าการสุ่มทำประชาพิจารณ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งมีลักษณะเป็นการสร้างกระแสมากกว่าการใช้หลักวิชาการและหลักเศรษฐศาสตร์ มาเป็นเครื่องในการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย
ทั้งนี้ นายดามพ์ เห็นว่าในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ การออกกฎหมายควบคุมหรือจำกัดการทำธุรกิจย่อมส่งผลกระทบต่อการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ยังเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคมากกว่า
"ต้อง ยอมรับว่าผู้ที่ถูกผลกระทบมากที่สุดจากธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่คือ กลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่และกลุ่มยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ส่วนผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงนั้นคือผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นด้านราคา ความหลากหลาย และคุณภาพ และภาครัฐ ซึ่งจะมีรายได้จากภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ที่มา : classifiedthai.com
ผู้ประกอบการติง ก.พาณิชย์ เตรียมประชาพิจารณ์ร่าง พรบ.การประกอบธุรกิจการค้าปลีกในประเทศ ควรศึกษาอย่างรอบคอบ เพราะกระทบการจ้างงานหลายแสนคน และธุรกิจเอสเอ็มอีนับหมื่นราย...
[attachment=0]ติงรัฐบาลปลุกผี คุมค้าปลีก กระทบการลงทุน.jpg[/attachment]
เมื่อ วันที่ 6 ก.ย. นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอกชัยดีสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์จะจัดทำประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 2 เดือนนี้ว่า ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศ ยินดีและพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ของรัฐอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เรื่องของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งนั้น เป็นเรื่องที่นำเสนอมาหลายครั้งแล้ว แต่ยังมีข้อถกเถียงกันในเนื้อหาและเป้าหมายของกฎหมายดังกล่าวอยู่ ซึ่งผู้ประกอบการเองเคยพูดหลายครั้งว่า การออกกฎหมายใดๆ นั้นควรศึกษาปัญหาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกค้าส่งที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานหลายแสนคน และธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) หลายหมื่นราย เป็นภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนของจีดีพี (GDP) สูงถึง 20% ภาครัฐจึงควรมีผลงานวิจัยหรือผลการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อถือได้ มากกว่าการสุ่มทำประชาพิจารณ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งมีลักษณะเป็นการสร้างกระแสมากกว่าการใช้หลักวิชาการและหลักเศรษฐศาสตร์ มาเป็นเครื่องในการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย
ทั้งนี้ นายดามพ์ เห็นว่าในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ การออกกฎหมายควบคุมหรือจำกัดการทำธุรกิจย่อมส่งผลกระทบต่อการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ยังเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคมากกว่า
"ต้อง ยอมรับว่าผู้ที่ถูกผลกระทบมากที่สุดจากธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่คือ กลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่และกลุ่มยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ส่วนผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงนั้นคือผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นด้านราคา ความหลากหลาย และคุณภาพ และภาครัฐ ซึ่งจะมีรายได้จากภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ที่มา : classifiedthai.com