เสวนาธุรกิไทยจะอยู่อย่างไรหลังเปิดเสรีอาเซียน.jpg
ด้านความพร้อมและความเข้าใจของผู้ประกอบการนั้น ในขณะนี้เชื่อว่าผู้ประกอบการมีความพร้อมแลเข้าใจเป็นอย่างดี ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การก้าวเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็น “ตลาดและฐานการผลิตเดียว” โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือภายในอาเซียนอย่างเสรี มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นภายในปี 2558 ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออก นำเข้า หรือผู้ที่ทำธุรกิจภายในประเทศ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม จะต้องเรียนรู้และปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจภาคเอกชนเชียงใหม่ โดยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือกับ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) จัดงานเสวนา “ธุรกิจไทย..จะอยู่อย่างไรหลังเปิดเสรีอาเซียน” ณ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการเชียงใหม่
“หม่อมอุ๋ย”เผย ไทยเข้าร่วมอาเซียนได้เปรียบประเทศอื่นทั้งภาคเกษตรและอุตสหกรรมรวมถึงความพร้อมของผู้ประกอบการ ไม่หวั่นนักธรุกิจต่างชาติใช้โอกาสลงทุนในไทย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในการเสวนาถึงผลกระทบจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาคธุรกิจของไทยว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทั้งดีและเสีย แต่โดยรวมแล้วค่อนข้างได้เปรียบ เนื่องด้วยความพร้อมของไทยในด้านภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ที่สามารถครองตลาดอเมริกา ยุโรป และเอเชียในหลายๆ ประเทศ ส่วนที่อาจเสียเปรียบอาจเป็นสินค้าที่ใช้แรงงานเยอะ ในด้านความพร้อมและความเข้าใจของผู้ประกอบการนั้น ผู้ประกอบการมีความพร้อมและความเข้าใจเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในส่วนของผลกระทบด้านธุรกิจในเขตภาคเหนือนั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร มองว่าจะมีแต่ผลดี กล่าวคือ ภาคเหนือเป็นธุรกิจบริการที่ทุกประเทศในอาเซียนยอมรับ และไม่มีประเทศไหนสู้ได้ แต่หากจะกล่าวคือปัญหาก็คงเกิดจากการแข่งขันของผู้ประการ โดยเฉพาะการแข่งขันด้านบริการโรงแรมที่มีมากจนเกินไป
อย่างไรก็ดี เมื่อถามถึงความกังวลที่นักธุรกิจต่างชาติในอาเซียนจะใช้โอกาสเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นหรือเปล่าจากการเข้าร่วมอาเซียนครั้งนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เผยว่า ไม่น่ามีผลอย่างใด เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดนานแล้ว รวมไปถึงประเทศไทยก็ได้ทำการค้ากับประเทศจีน อเมริกา และยุโรปมายาวนานแล้ว ดังนั้นการที่ประเทศไทยเข้าร่วมอาเซียนจึงไม่ใช่ประเด็นที่ไทยจะต้องกังวล
ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนประเทศไทย แนะเอสเอ็มอีไทยจะต้องเปลี่ยนรูปแบบจากการแข่งขันกันเองมาเป็นประสานงานกัน ทางด้านนายอรินทร์ จิรา ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าคนไทยยังงงกับเรื่อง AEC แต่มาถึงวันนี้ก็ยังไม่รู้ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งจริงๆแล้วการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสิ่งสำคัญคือเรื่องของภาษา ซึ่งนอกจากภาษาอังกฤษที่จะใช้เป็นภาษากลางแล้ว คนไทยควรจะศึกษาเรียนรู้ภาษาของเพื่อนบ้านด้วย วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนก็เพื่อให้เป็นฐานผลิตและฐานตลาดเดียว มีการเคลื่อนย้ายด้านธุรกิจบริการเสรี เงินทุนเสรีและแรงงานมีฝีมือมีเสรีมากขึ้น ส่วนประเทศไหนจะได้เปรียบในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากที่สุดก็ขึ้นอยู่กับความพร้อม
ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนประเทศไทย กล่าวอีกว่า ในการแข่งขันแบบเสรีที่เลวร้ายที่สุดคือธุริจเอสเอ็มอี ซึ่งหากไม่มีการเตรียมตัวหรือปรับปรุงทั้งบุคลากร วิธีการทำงาน โดยเฉพาะดูเรื่องต้นทุนการผลิตแล้วก็อาจจะทำให้เอสเอ็มอีไทยล้มหายตายจากได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วเอสเอ็มอีของนานาชาติที่มีความพร้อมมากกว่าก็จะเข้ามาตั้งรกรากในอาเซียนและใช้ประโยชน์จากการเปิดฐานตลาดที่ใหญ่ขึ้น ด้านแรงงานฝีมือจะมีความเป็นเสรีมากขึ้น อาทิ 7 สาขาที่มีการเดินไปทำงานในกลุ่มประเทศอาซียนได้อย่างเสรีอาทิ1. หมอ 2.พยายาล 3. หมอฟัน 4.วิศวกร 5.สถาปัตยกรรม 6.นักสำรวจ 7.นักการบัญชี เฉพาะ 7 อาชีพสามารถเดินทางไป – มา เข้าสู่ประเทศต่างๆ กลุ่มอาเซียนอย่างเสรี อีกอาชีพหนึ่งก็เดินทางได้คือ การบริการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดนี้จะต่างแตกจากอาชีพอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้นำอาเซียนต้องยกเลิกข้อผูกมัด อาทิเรื่องเสรีของหมอว่าต้องพูดภาษาได้ต้องจบระดับนั้น ระดับนี้ หากยกเลิกก็จะดีในเรื่องของการกีดกัน ถือว่าเป็นการมองที่แคบ เราต้องมีการแรกเปลี่ยนเราไปประเทศเขาได้ เขามาประเทศเราได้นี้น่าจะดีกว่า หากถือว่าประเทศไทยจะได้เปรียบด้านอะไรบ้าง หากตอบว่าได้เปรีบทุกด้านเชื่อว่าไม่มีประเทศไหนเข้ามาลงทุนกับเราแน่นอน
ส่วนด้านเอสเอ็มอี หากว่ายังไม่มีการปรับปรุงบุคคลกร วิธีการทำงานทบทวนเรื่องต้นทุนเราก็ไมม่สามารถตามเขาได้ หากไม่มีการปรับตัวจะมีSMEs เสียหายเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่ประเทศไทยอย่างเดียวทั่วอาเซียน เอสเอ็มอี อินเตอร์เนชั่นแนล ยุโรป อเมริกา เกาหลี และญี่ปุ่น กลุ่มนี้ให้ความสนใจมาก ซึ่งจะเข้ามาแข่งขันกับเรา เราต้องมีการเปลี่ยนวิธีใหม่ในการแข่งขันที่ประสานงานกัน อุตสาหกรรมที่ทำเหมือนกับเราต้องร่วมมือกัน ด้านการผลิตหากวัตถุดิบที่ไหนถูกเราก็สามารถย้ายฐานผลิตไปที่นั้นได้ โดยติดต่อกันเป็นพันธิมิตรกับประเทศนั้นติดต่อค้าขายผ่านประเทศเรา เรื่องการแข่งขันคิดว่าจะมีอยู่เรื่อย อยู่ที่การปรับตัวของธุรกิจ และอุตสาหกรรมนั้นๆ
ระธานกิตติมศักดิ์หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สินค้าไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ในข้อมูลด้านเศรษฐกิจเกษตร อาหารแปรรูปโตเร็วมาก และจากฐานของล้านนาถือเป็นจุดแข็งและประกอบกับชาติพันธุ์ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน ให้เอาวัฒนธรรมไม่ใช่เอาเศรษฐกิจนำ และประเทศไทยยังไม่ได้โอกาสในภูมิศาสตร์เป็นตัวนำไม่เหมือนลาว ที่ใช้แลนด์ลิงค์ที่มีปัจจัยเอื้อแต่ก็มีวิธีปกป้องธุรกิจภายใน
นายณรงค์ กล่าวด้วยว่า ในการออกไปทำธุรกิจนอกประเทศต้องรวมตัวกันไป และอย่าไปดูถูกเพื่อนบ้าน เพราะคนไทยข้อเสียคือปากสว่าง ทำให้ถูกมองว่าคนไทยชอบเอาเปรียบและก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจ หากละทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้จะทำให้การออกไปลงทุนต่างประเทศก้าวหน้าได้
สำหรับอัตราเงินเดือนของประเทศในอาเซียนเมื่อเทียบกับจีนคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดคือสิงคโปร์ 1,200 ดอลลาร์ต่อเดือนซึ่งเป็นค่าแรงในการผลิต อันดับ 2 คือจีน 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ อันดับ 3 มาเลเซีย 298 ดอลลาร์ ส่วนไทย 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ เวียดนาม 107 ดอลลาร์สหรัฐฯแต่ต่ำสุดคือพม่า 54 ดอลลาร์สหรัฐฯ และในไทยก็เริ่มมีแรงงานจากฟิลิปปินส์ซึ่งค่าแรงต่างภาคการผลิตอยู่ที่ 210 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน
ที่มา : chiangmainews.co.th