นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เห็นชอบให้ธุรกิจต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยช่วงไตรมาส 1/56 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 99 ราย เพิ่มขึ้น 25% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีเงินลงทุนรวม 3,640 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 126% ขณะที่ยอดประกอบธุรกิจต่างด้าวเฉพาะเดือนมี.ค.56 อยู่ที่ 35 ราย เพิ่มขึ้น 9%เทียบกับมี.ค.55 มีเงินลงทุนรวม 1,659 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 203% และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 762 คน
ทั้งนี้ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเดือนมี.ค. ได้แก่ ธุรกิจบริการจำนวน 17 ราย คิดเป็นสัดส่วน 49% ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต มีเงินลงทุน 1,514 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้แก่บริษัทในเครือ ในกลุ่มเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงิน ให้เช่าพื้นที่อาคาร รับค้ำประกันหนี้ และบริการทางบัญชี เป็นต้น โดยประเทศที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลี และฝรั่งเศส
ส่วนธุรกิจรองลงมาคือสำนักงานผู้แทนจำนวน 10 ราย คิดเป็นสัดส่วน 29% โดยมีเงินลงทุนจำนวน 30 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ การผลิต การจำหน่าย การลงทุน การตลาด ตลอดจนความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ ประเทศที่เข้ามาลงทุนได้แก่ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ เยอรมนี อิตาลี และสาธารณรัฐเกาหลี
ที่มา : dailynews.co.th
[center][img]http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/193935.jpg[/img][/center]
นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เห็นชอบให้ธุรกิจต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยช่วงไตรมาส 1/56 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 99 ราย เพิ่มขึ้น 25% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีเงินลงทุนรวม 3,640 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 126% ขณะที่ยอดประกอบธุรกิจต่างด้าวเฉพาะเดือนมี.ค.56 อยู่ที่ 35 ราย เพิ่มขึ้น 9%เทียบกับมี.ค.55 มีเงินลงทุนรวม 1,659 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 203% และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 762 คน
ทั้งนี้ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเดือนมี.ค. ได้แก่ ธุรกิจบริการจำนวน 17 ราย คิดเป็นสัดส่วน 49% ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต มีเงินลงทุน 1,514 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้แก่บริษัทในเครือ ในกลุ่มเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงิน ให้เช่าพื้นที่อาคาร รับค้ำประกันหนี้ และบริการทางบัญชี เป็นต้น โดยประเทศที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลี และฝรั่งเศส
ส่วนธุรกิจรองลงมาคือสำนักงานผู้แทนจำนวน 10 ราย คิดเป็นสัดส่วน 29% โดยมีเงินลงทุนจำนวน 30 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ การผลิต การจำหน่าย การลงทุน การตลาด ตลอดจนความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ ประเทศที่เข้ามาลงทุนได้แก่ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ เยอรมนี อิตาลี และสาธารณรัฐเกาหลี
ที่มา : dailynews.co.th