โพสต์ โดย OpenERPThailand_staff » อังคาร 29 ม.ค. 2013 1:31 pm
โดยทั่วไปอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมี 2 อัตราครับ 1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 0%
--- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ใช้ในกรณีทั่วไป
--- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% จะใช้ในกรณีต่อไปนี้
1. การส่งออกสินค้าของผู้ประกอบการจดทะเบียน แบ่งได้ 4 กรณี
1.1 ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร โดยต้องผ่านพิธีการทางศุลกากร (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.97/2543)
1.2 ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อใน ตปท. แต่ให้โรงงานในประเทศเป็นผู้ยื่นใบขนสินค้าขาออก ถือว่าผู้ขายในประเทศเป็นผู้ส่งออกได้รับอัตราภาษี 0 ส่วนโรงงานฯเป็นผู้ขายสินค้าในประเทศต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม.80
1.3 การนำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยต้องผ่านพิธีการทางศุลกากร
1.4 การขายสินค้าประเภทร้านค้าปลอดอากร (Duty Fee)
2. การให้บริการในไทย ใช้บริการต่างประเทศ (มาตรา 80/1 (2)) -> ส่งออกบริการ ประกาศอธิบดีกรรมสรรพากร ฉบับที่ 105 อธิบายความหมายของการให้บริการในประเทศ แต่ใช้บริการต่างประเทศ ดังนี้
2.1 เป็นการให้บริการที่ทำในราชอาณาจักร แก่ผู้รับบริการใน ตปท. โดยผลของการให้บริการนั้น ไปใช้ใน ตปท. ทั้งหมด เว้นแต่ กิจการเดียวเท่านั้นที่ไม่ถือเป็นการให้บริการส่งออก คือ การนำเที่ยวในต่างประเทศ
2.2 การให้บริการต่อเรือเดินทะเล / ซ่อมแซมเรือเดินทะเล /อากาศยานที่ทำในราชอาณาจักร
2.3 การให้บริการประกันวินาศภัย สำหรับ ท/ส และ สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
2.4 การให้บริการที่ทำในราชอาณาจักร เพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากรเพื่อผลิตเพื่อการส่งออก
3. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ โดยอากาศยาน / เรือเดินทะเล
4. การขายสินค้า / ให้บริการ กับส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจาก ตปท. โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายสินค้า/บริการต้องเป็นผู้ประกอบการใน ปทท. เท่านั้น
4.1 ถ้าส่วนราชการใช้เงินงบประมาณ (ปกติ) ต้องเสีย VAT 7%
5. การขายสินค้า / ให้บริการ กับองค์การสหประชาชาติ สถานทูต โดยมีเงื่อนไข
5.1 ราคาสินค้า / บริการต้องไม่น้อยกว่า 5,000.- เว้นแต่ ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าโทรศัพท์
5.2 ต้องได้รับหนังสือรับรองจาก กระทรวงต่างประเทศ
6. เป็นการขายสินค้า / ให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บน / เขตอุตสาหกรรมส่งออก
ที่มา : csp-th.com
โดยทั่วไปอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมี 2 อัตราครับ 1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 0%
--- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ใช้ในกรณีทั่วไป
--- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% จะใช้ในกรณีต่อไปนี้
1. การส่งออกสินค้าของผู้ประกอบการจดทะเบียน แบ่งได้ 4 กรณี
1.1 ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร โดยต้องผ่านพิธีการทางศุลกากร (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.97/2543)
1.2 ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อใน ตปท. แต่ให้โรงงานในประเทศเป็นผู้ยื่นใบขนสินค้าขาออก ถือว่าผู้ขายในประเทศเป็นผู้ส่งออกได้รับอัตราภาษี 0 ส่วนโรงงานฯเป็นผู้ขายสินค้าในประเทศต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม.80
1.3 การนำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยต้องผ่านพิธีการทางศุลกากร
1.4 การขายสินค้าประเภทร้านค้าปลอดอากร (Duty Fee)
2. การให้บริการในไทย ใช้บริการต่างประเทศ (มาตรา 80/1 (2)) -> ส่งออกบริการ ประกาศอธิบดีกรรมสรรพากร ฉบับที่ 105 อธิบายความหมายของการให้บริการในประเทศ แต่ใช้บริการต่างประเทศ ดังนี้
2.1 เป็นการให้บริการที่ทำในราชอาณาจักร แก่ผู้รับบริการใน ตปท. โดยผลของการให้บริการนั้น ไปใช้ใน ตปท. ทั้งหมด เว้นแต่ กิจการเดียวเท่านั้นที่ไม่ถือเป็นการให้บริการส่งออก คือ การนำเที่ยวในต่างประเทศ
2.2 การให้บริการต่อเรือเดินทะเล / ซ่อมแซมเรือเดินทะเล /อากาศยานที่ทำในราชอาณาจักร
2.3 การให้บริการประกันวินาศภัย สำหรับ ท/ส และ สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
2.4 การให้บริการที่ทำในราชอาณาจักร เพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากรเพื่อผลิตเพื่อการส่งออก
3. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ โดยอากาศยาน / เรือเดินทะเล
4. การขายสินค้า / ให้บริการ กับส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจาก ตปท. โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายสินค้า/บริการต้องเป็นผู้ประกอบการใน ปทท. เท่านั้น
4.1 ถ้าส่วนราชการใช้เงินงบประมาณ (ปกติ) ต้องเสีย VAT 7%
5. การขายสินค้า / ให้บริการ กับองค์การสหประชาชาติ สถานทูต โดยมีเงื่อนไข
5.1 ราคาสินค้า / บริการต้องไม่น้อยกว่า 5,000.- เว้นแต่ ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าโทรศัพท์
5.2 ต้องได้รับหนังสือรับรองจาก กระทรวงต่างประเทศ
6. เป็นการขายสินค้า / ให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บน / เขตอุตสาหกรรมส่งออก
ที่มา : csp-th.com